*..รอโหลดซักกะเดี๋ยวเตง..*           วิกฤติการเมืองเรื่องฅนตอแหล..๒๕๕๕
. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

03... โถ..โถ..โถ..น่าสมเพชเวทนา เอา"ข้าวนึ่ง"จากไหนไม่รู้ จัดฉากใส่ร้ายเขาเป็นตุเป็นตะ หวัง"ตีกิน"ตามสันดาน!!

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เปิดใจ "พงศพัศ พงษ์เจริญ" ว่าที่ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร (ย่อมรับคนนี้เก่งจริง)
@ ข้อคิดถึงคุณคน กทม. 3มี.ค.นี้ คุณควรเลือกใครเป็นผู้ว่าฯ ?????
@ ท่านหม่อม!! เหนื่อยนักก็ พักก่อน นะครับ
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ มือหยาบกร้านคู่นั้น มีแต่เส้นเอ็นปูดโปน...ทำให้ผมนึกถึงมือของผู้หญิงคนหนึ่ง...
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...




รมช.ณัฐวุฒิ ตอบกระทู้โครงการรับจำนำข้าว ประชุมสภา 07 2 56

- ตอบคำถามแรก นาที 1.58 ถึง นาที 5.30
- ตอบคำถามที่สอง นาที 13.08 ถึง นาที 17.00
- ตอบคำถามที่สาม นาที 26.28 ถึง นาที 29.32
- ใช้สิทธิ์พาดพิงตบท้าย นาที 34.07 ถึง นาที 35.46
"ผมได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ขององค์การคลังสินค้าซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบข้าวในโกดังเดินทางมารับมอบข้าวกระสอบนี้ และนำไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ....."


@ ขอบคุณรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่ทำให้ชาวนาไทยลืมตาอ้าปากได้

โถ..โถ..โถ..น่าสมเพชเวทนา เอา"ข้าวนึ่ง"
จากไหนไม่รู้ จัดฉากใส่ร้ายเขาเป็นตุเป็นตะ
หวัง"ตีกิน"ตามสันดาน!!



ข้าวนึ่ง (Parboiled Rice)
By: ricethailand.go.th

...ถึงคนที่ไม่รู้จักข้าวนึ่ง .. "ข้าวนึ่ง"คือข้าวที่นำมาแช่น้ำแล้วนึ่งหรือต้มให้สุก แล้วค่อยขัดสีเอาเปลือกออก ทำให้ข้าวมีสีเหลืองอย่างที่เห็นกลางสภา..ไม่ใช่ข้าวมันเสีย(เน่า)นะ .. ประเทศแถบตะวันออกกลางนิยมสั่งซื้อข้าวชนิดนี้ เพราะมีวิตามินบางชนิดสูงกว่าข้าวธรรมดา เก็บรักษาได้ง่ายและนานกว่า แต่ไม่เป็นที่นิยมในแถบบ้านเราเพราะกลิ่นและรสอาจไม่เป็นที่คุ้นเคย..."

"ข้าวนึ่ง" เป็นสินค้าออกประเภทข้าวของไทย ถึงแม้จะไม่มีการบริโภคภายในประเทศ แต่ข้าวนึ่งก็เป็นสินค้าออกของไทยมานานแล้ว ปีหนึ่งๆไทยส่งข้าวนึ่งออกประมาณ 7 แสน ถึง 1 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท

ประเทศที่สั่งซื้อข้าวนึ่งจากไทยได้แก่ประเทศต่างๆในแถบอัฟริกา และ ตะวันออกกลาง เช่น Mozambique Cameroon Somalia Nigeria Benin, Saudi Arabia, Yemen, Oman, Kuwait, Bahrain, Israel และ Lebanon เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายๆประทศใน ยุโรป อเมริกา เช่น Italy, Germany, France และบางประทศในเอเชีย เช่น Bangladesh และ Sri Lanka เป็นต้น

วิธีทำข้าวนึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆเพื่อปรับปรุงคุณภาพได้ดีขึ้น วิธีล่าสุดของการพัฒนาก่อนถึงการใช้เครื่องจักรกลก็คือ วิธี Parboiled process ซึ่งวิธีแรก คือ Cold soaking method หรือ Single boiling method และวิธีที่ 2 คือ Double boiling method วิธีแรก Single boiling คือ แช่ข้าวแช่ในถังน้ำเย็นธรรมดาเป็นถังซีเมนต์ขนาดใหญ่ มีการหมุนเวียนของน้ำตลอดเวลา เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ตามด้วยนำข้าวเปลือกที่แช่แล้วไปต้มอุณหภูมิน้ำเดือด 2 ชั่วโมง ขณะต้มมีการคนตลอดเวลาหรือทุกๆ 20 นาที แล้วนำไปทำให้แห้งโดยการตากแดด วิธีที่สอง Double Boiling method พัฒนาจากวิธีแรก โดยครั้งแรกแช่ข้าวเปลือกในน้ำอุ่น (60c) เพื่อให้แบคทีเรียและจุลินทรีย์อื่นๆตาย จากนั้นลดอุณหภูมิเหลือ 30-40c เพื่อให้ spore ของจุลินทรีย์ต่างๆเกิดขึ้นมาอีกครั้ง แล้วจึงนำไปต้มฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ให้หมดจริงๆ จากนั้นก็นำไปทำให้แห้ง วิธีนี้ช่วยลดกลิ่นลงสีข้าวเป็นสีเหลืองแดงแทนน้ำตาลคล้ำ และไม่เหม็นหืน

@ จุดประสงค์ของการทำข้าวนึ่ง

กรรมวิธีการทำข้าวนึ่ง เป็นการปฏิบัติต่อข้าวเปลือกก่อนที่จะนำไปสีโดยมีจุดประสงค์เพื่อลดปริมาณข้าวหักระหว่างการสี ลดการสูญเสียแร่ธาตุอาหารในบางส่วนของเมล็ดข้าวระหว่างการสี และเพิ่มคุณค่าการใช้ประโยชน์จากข้าวเปลือกคุณภาพการสีต่ำหรือข้าวเปลือกเปียก นอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์ทางการค้า คือ ผลิตตามความต้องการของผู้บริโภคในบางส่วนของโลกที่เคยชินต่อการบริโภคข้าวนึ่งอีกด้วย

@ วิธีการทำข้าวนึ่ง

กรรมวิธีพื้นฐานของการทำข้าวนึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขึ้นตอนที่ต่อเนื่องกันคือ

1. การแช่ (Soaking หรือ Steeping) นำข้าวเปลือกมาแช่น้ำให้มีความชื้นประมาณ 30-40% เพื่อให้แป้งอ่อนตัวลง น้ำที่แช่อาจเป็นน้ำเย็นหรือน้ำร้อนก็ได้ เวลาของการแช่ขึ้นอยู่กับน้ำ น้ำเย็นใช้เวลาแช่ 2-3 วัน น้ำอุ่นหรือน้ำร้อน เวลาการแช่ลดลง

2. การต้มหรือนึ่ง (Steaming) นำข้าวเปลือกขึ้นจากขั้นตอนแรกมาต้มหรือนึ่งให้สุก เพื่อให้แป้งภายในเมล็ดมีลักษณะเป็นวุ้น (gelatinize) สังเกตจากข้างนอกจะเห็นเปลือกเมล็ดข้าวปริมาณเล็กน้อย

3. การทำให้แห้ง (Drying) หลังจากต้มหรือนึ่งแล้วข้าวเปลือกจะถูกนำไปทำให้แห้งซึ่งอาจจะใช้ตากแดดธรรมดา หรือผ่านเครื่องอบแห้งก็ได้ การทำแห้งมีจุดประสงค์เพื่อลดความชื้นให้เหลือ 12-14% ก่อนนำไปสี

@ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากกรรมวิธีการทำข้าวนึ่ง

1. เปลือกเมล็ดจะปริเนื่องจากข้าวกล้องขยายตัว

2. การแช่ข้าวเปลือกในน้ำเย็นหลายๆวัน ทำให้เกิดการหมัก (fermentation) ข้าวนึ่งมีกลิ่นเหม็น แก้ไขโดยแช่น้ำอุ่นหรือน้ำร้อนแทนน้ำเย็น

3. ขณะแช่ข้าวเปลือก ความดัน (Pressure) ในน้ำสูงกว่าในเมล็ด ทำให้แร่ธาตุและสารอาหารต่างๆซึ่งอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นนอกๆของเมล็ดซึมเข้าไปในส่วนของข้าวสาร ทำให้ข้าวสารนึ่งมีคุณค่าอาหารเพิ่มขึ้น

4. ในขั้นตอนนึ่ง จะเกิดลักษณะที่แป้งสุกเป็นกาวประสานเชื่อมรอยแตกร้าวภายในเมล็ดให้หายไป และเม็ดแป้งสุกขยายตัว จับเป็นเนื้อเดียวกันทำให้ช่องว่างภายในเม็ดข้าวสารที่เรามองเห็นเป็นลักษณะท้องไข่หายไปด้วย ดังนั้น ข้าวนึ่งเมื่อทำให้แห้ง แล้วนำไปสีจึงได้ปริมาณข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวสูง ข้าวหักน้อย ข้าวสารใสไม่เป็นท้องไข่

5. ข้าวเปลือกเมื่อแช่น้ำ พวกแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ เช่น free sugar และ amino acid จะซึมเข้าไปส่วนที่เป็นแป้ง เมื่อนำไปนึ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารเหล่านี้เรียกว่า browning reaction ทำให้ข้าวสารมีสีน้ำตาลอ่อนหรือคล้ำ แล้วแต่วิธีการแช่และนึ่ง

@ คุณภาพข้าวนึ่ง

ข้าวนึ่งคุณภาพดี พิจารณาจากสิ่งต่างๆ ดังนี้ คือ

สี : ควรเป็นสีเหลืองอ่อน หรือน้ำตาลอ่อน

กลิ่น : เมื่อหุงสุกแล้วควรมีกลิ่นน้อยที่สุด

คุณภาพการสี : สีได้เนื้อ มีข้าวหักน้อย

ลักษณะเมล็ด : ใส แกร่ง ไม่มีท้องไข่ ขนาดรูปร่างเมล็ดเหมือนข้าวธรรมดา

ลักษณะข้าวสุก : เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดร่วนไม่ติดกัน

@ ปัจจัยที่ต้องควบคุมในการทำข้าวนึ่ง

1. ข้าวเปลือกหรือวัตถุดิบสำหรับทำข้าวนึ่ง ควรมีสีของเปลือกและสีชั้นปลอกรำ อ่อน เช่น ขาว (ฟาง) หรือน้ำตาล เมล็ดอยู่ในสภาพสะอาด ไม่มีรอยแมลงกัดกินหรือเชื้อราทำลาย

2. ต้องควบคุมอุณหภูมิของน้ำและระยะเวลาการแช่ให้พอเหมาะ เพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นและสีที่ไม่ดีของข้าวนึ่ง ** ในการแช่ควรทำให้มีการหมุนเวียนของน้ำและข้าวด้วย เพื่อป้องกันความร้อนสะสมซึ่งจะทำให้เกิดเมล็ดผิดปรกติ (deform grain)

3. อุณหภูมิและเวลาขณะนึ่งต้องควบคุมให้พอเหมาะ ไม่ควรให้สูงเกินไปเพราะจะมีผลต่อสีข้าวนึ่ง ลักษณะเมล็ดผิดปรกติ (deform grain) และข้าวสารแข็งเกินไปเมื่อใช้เวลานาน

4. การทำให้แห้ง ต้องเป็นไปอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ ถ้าใช้ความร้อนสูงเกินไปและทำให้แห้งรวดเร็ว ข้าวจะแตกร้าว สีแล้วหักมากขึ้น

5. ความชื้นของข้าวนึ่งไม่ควรเกิน 14% เมื่อเก็บไว้ในยุ้งฉางหรือโกดัง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการทำลายของ จุลินทรีย์โดยเฉพาะเชื้อราต่างๆ

@ เปรียบเทียบข้าวนึ่งกับข้าวธรรมดา

1. ข้าวนึ่งกะเทาะเปลือกง่ายกว่าข้าวธรรมดา

2. ข้าวนึ่งใช้เวลาและการขัดสีมากกว่าข้าวธรรมดา

3. ข้าวนึ่งคุณภาพการสีดีกว่า ข้าวหักน้อยกว่าข้าวธรรมดา

4. ข้าวนึ่งเก็บรักษาได้นานกว่าข้าวธรรมดา เพราะ enzyme lypase ถูกทำลาย

5. หากข้าวธรรมดาเป็นท้องไข่ เมื่อทำเป็นข้าวนึ่งแล้วเมล็ดจะใสไม่เป็นท้องไข่

6. ข้าวสารนึ่ง มีไวตามิน บี และ อี สูงกว่าข้าวสารธรรมดา (พันธุ์เดียวกัน)

7. ข้าวนึ่งใช้เวลาหุงต้มนานกว่าข้าวธรรมดา

8. ข้าวนึ่งหุงขึ้นหม้อกว่าข้าวธรรมดา เพราะการทำข้าวนึ่งเป็นการทำให้ข้าวเก่า

9. ข้าวนึ่งย่อยง่ายกว่าข้าวธรรมดาเพราะแป้งสุกไปครั้งหนึ่งแล้ว Chain ของ glucose ถูกทำลายไปแล้ว

10. รำข้าวนึ่งมีน้ำมัน 25-30% ในขณะที่ข้าวธรรมดามีเพียง 15-20%

11. ข้าวนึ่งมีกลิ่นและรสไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่คุ้นเคยกับข้าวธรรมดา

12. ข้าวนึ่งเพาะไม่งอก แต่ข้าวธรรมดางอก (ถ้ายังมีชีวิต)

13. ข้าวนึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าข้าวธรรมดา


Comment...

By charawon : โกหกคนกรุงคงได้นะหมอ.. แต่โกหกลูกชาวนาอย่างผมไม่ได้.. ข้าวเปลือกหรือข้าวสารไม่มีเน่าครับ มีแต่หมอนั่นแหละจะเน่า..

ข้าวเปลือกหรือข้าวสารต่อให้แช่น้ำเป็นเดือนมันก็ไม่เน่าครับ.. ข้าวเปลือกโดนน้ำหรือความชื้นพอเหมาะมันก็จะงอก..มันไม่เน่า.. ข้าวเปลือกก่อนบรรจุกระสอบเขาตากแดดไล่ความชื้น..ไม่มีโอกาสงอกและเน่า.. ข้าวเปลือกถ้าเสื่อมคุณภาพก็แค่ เปราะ ร่วน สีไม่เป็นตัว..ถึงขึ้นราก็ไม่เน่า..

เคยเห็นข้าวสารที่ไหนเน่าบ้าง.. ยิ่งอยู่ในกระสอบข้าวโอกาสเน่าเป็นศูนย์ อย่างเก่งก็แค่มีมดและมอดมากินเท่านั้น.. ลองเอาข้าวสารแช่น้ำทิ้งไว้ดูซิว่า มันจะเน่าสลายรึป่าว.. ถ้าเป็นข้าวสุกถึงจะบูดเน่าได้

สรุป หมอไปเอาข้าวกระสอบนั้นมาจากไหน ก็โดนทั้งนั้นครับ ขโมย หรือ หลักฐานเท็จ

ถ้าเอามาจริง >>> ผิดข้อหาขโมยทรัพย์สินของทางราชการ และรับหรือรับซื้อของโจร

ถ้าเอามาไม่จริง >>> ผิดข้อหา สร้างหลักฐานเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีรัฐบาล