*..รอโหลดซักกะเดี๋ยวเตง..*           วิกฤติการเมืองเรื่องฅนตอแหล..๒๕๕๕
. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

19... จริงรึ??? รัฐบาลปูขาดทุนจำนำข้าว 2.6 แสนล้าน

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????
@ เฮ้อ!! ณ นาทีนี้..บอกได้คำเดียว เสียดาย..เสียดายครับ...นโยบายดีๆที่คน กทม. ไม่เอ๊า..ไม่เอา...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...

จริงรึ??? รัฐบาลปูขาดทุนจำนำข้าว 2.6 แสนล้าน


วันนี้ 6มิ.ย.56 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวที่มีการระบุว่าขาดทุนถึง 2.6 แสนล้านบาท ว่า ขอยืนยันว่าความเสียหายยังอยู่ในระดับหลักหมื่นล้าน ไม่ใช่ 2.6 แสนล้านบาท อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ระบุแน่นอน ส่วนจำนวนที่แน่ชัดนั้นในวันที่ 7 มิ.ย.นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ จะเป็นผู้ชี้แจงตัวเลขในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งขณะนี้นายบุญทรง อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลอยู่

ทั้งนี้ สำหรับเรื่องข้าวจริงๆแล้วมีสองล็อต ได้แก่ ล็อตแรก คือ ก่อนหน้ารัฐบาลชุดนี้จะเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งมีข้าวค้างสต็อกอยู่จำนวนมาก แต่เรามีการระบายออกมาได้เยอะแล้ว เป็นข้อดีที่ยังไม่ได้มีการพูดถึงกัน

และ ล็อตที่สองที่รัฐบาลชุดนี้มาบริหารประเทศ ในปี 54–55 มีการรับจำนำหมดแล้ว เหลือแต่ขายออก

และปี 55–56 ขั้นตอนการรับจำนำยังไม่เสร็จสิ้น แต่กับมาตีกัน ได้อย่างไรว่าขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท






By: Efiles

สังเกตลำดับที่ 15 ข้าวเปลือกนาปี ปี 54/55 (รัฐบาลปู)

ยอดค่าใช้จ่าย 36,352.71 ล้านบาท นั่นหมายถึงยอดรับจำนำข้าว ขณะที่ยอดรายรับ 4,051.71 ล้านบาท นั่นหมายถึงยอดขาย

*** ส่วนที่ตีว่าขาดทุน 32,301 ล้านบาทนั่นคงตีความว่า สต๊อคที่มีอยู่เป็นผลขาดทุนทั้งหมด ***

ถ้าตีความว่าขาดทุน --> ย่อมตีความต่อได้ว่าสต๊อคข้าวที่เหลือทั้งหมดนั้นเน่าเสีย หรือคุณภาพไม่ดีสำหรับการขายแล้ว --> ย่อมตีความต่อได้ว่าโกดังหรือไซโลที่เก็บนั้นไม่มีประสิทธิภาพอย่างร้ายแรง --> ย่อมตีความต่ออีกว่าฝ่ายประเมินประสิทธิภาพของโกดังขาดคุณสมบัติและความรู้อย่างทุเรศที่สุด

ถ้ามันเป็นไปอย่างที่ตีความแบบนี้ กลิ่นเน่าเหม็น เรื่องทุจริตอย่างมโหฬารจะปิดได้มิดยังไง

ตรรกะของคนทำบัญชีนี้ถือว่าแย่ที่สุด ไม่สมควรจะอยู่ทำหน้าที่ทำบัญชีในหน่วยงานของรัฐ หรือของหน่วยงานเอกชนใดๆได้อีก มาตรฐานต่ำมากๆ

By: ยอนนี่ แดง

ลำดับที่ 15 ข้าวเปลือกนาปี ปี 54/55 (รัฐบาลปู)

ยังฟัน ตัวเลขขาดทุน ของการรับจำนำ ยังไม่ได้ครับ....... เพราะข้าว ส่วนใหญ่ รอการเดินสายขายอยู่....... ดีไม่ดี เข้าหน้าหนาว ข้าวจะขายดี มาก..... จะเท่าทุนเอานา......แต่ ตอนนี้ ชาวนา ได้ลืมตาอ้าปากแล้ว คร๊าบบบบบบบบ..........

@ มองโครงการรับจำนำข้าวในสายตาของชาวนาตัวจริง...

By: PredatorNeverdie

ลำดับที่ 15 ข้าวเปลือกนาปี ปี 54/55 (รัฐบาลปู)

ข้าวขายยังไม่หมด แล้วจะรู้เรอะว่า จะขายได้เท่าไหร่

เหมือนเอาเงินไปซื้อของมาขาย ยังขายไม่หมดเลย มีคนมาถามว่า ขาดทุนเท่าไหร่ครับ ใครจะตอบได้

มันต้องรอให้เขาขายข้าวไปก่อน การจำนำข้าว ไม่ใช่ว่ารับข้าวมาแล้วจะเอาไปขายเลย มันต้องรอให้หมดเวลาจำนำก่อนดิ..

ถ้าถามว่ารัฐบาลใช้เงินในการรับจำนำข้าวไปแล้วเท่าไหร่ อันนี้ตอบได้

ถามว่าตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามาขายข้าวไปกี่ตันแล้ว ได้เงินมาเท่าไหร่ แบบนี้ซิน่าจะถาม

By: สัจจะธรรมคือความจริง

ขาดทุนอะไร!? รัฐบาลปูข้าว(รอขาย)ยังมีอยู่ในมือในโกดัง ถ้าเทียบกับประกันสมัยมาร์ค ไม่มีข้าวไม่มีอะไรอยู่ในมือในโกดังเลย..นั่นละขาดทุนจริงๆ

รัฐบาลมาร์ค 17ธ.ค.2551 ถึง 5ส.ค.2554

ลำดับที่ 9 ข้าวเปลือกนาปี ปี 51/52 ขาดทุน 26,390.02 ล้านบาท

ลำดับที่ 12 ข้าวเปลือกนาปรัง ปี 52 ขาดทุน 41,405.20 ล้านบาท

รวมขาดทุนสมัยมาร์ค 26,390.02 + 41,405.20 = 67,795.22 ล้านบาท

การประกัน คือ การชดเชยเงินที่ชาวนาขายได้ต่ำกว่าราคาประกัน รัฐฯจ่ายเงินให้ไปฟรีๆ จ่ายไปเท่าไหร่ก็ขาดทุนเท่านั้น ไม่มีทางได้เงินคืน และข้าวก็ไม่ได้สักเมล็ด

ลองคิดดูแบบ หยาบๆง่ายๆ สมมุติ...ราคาตลาดโลก 10,000 บาท รัฐฯก็ประกันที่ 10,000 บาทเหมือนกัน

แต่พ่อค้ามาซื้อกด 6,000 รัฐฯต้องชดเชย 4,000 พ่อค้าไปขายก็จะได้กำไร 4,000 เหมือนกัน

แปลว่า เงินที่ชดเชยให้ชาวนาปีหนึ่ง ในระบบประกันประมาณ 70,000 ล้าน ก็แปลว่า พ่อค้าก็กำไรปีละประมาณเดียวกันนั้น

แล้วพ่อค้าส่งออกรายใหญ่เมืองไทยมีกี่ราย แบ่งกันอู่ฟู่เลย แล้วอย่างนี้ พวกนี้ ทำไมจะไม่ชอบ การประกัน ...ตกลงในความเป็นจริง รัฐบาลกำลังเอาเงินให้ชาวนา หรือ กำลังเอาเงินให้พ่อค้า

ส่วน การรับจำนำ ชาวนาสามารถไถ่คืนได้ถ้าที่อื่นหรือพ่อค้าให้ราคาสูงกว่าจำนำ ส่วนรัฐฯได้ข้าวเก็บไว้ในสต๊อก ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี รัฐฯอาจขายข้าวได้ดีกว่าที่รับจำนำมาก็จะได้กำไร สามารถนำเงินที่ขายมาหมุนเวียนรับจำนำข้าวต่อไปได้อีก

การที่ ชาวนา เอาข้าวมา จำนำ ต้องเป็นผู้ลงทะเบียนกับรัฐฯไว้ครับ

@ เรื่อง ข้าว..ข้าว.. ไทยมีสต็อกข้าวไว้กิน417วัน, ตารางสต็อกข้าวประเทศต่างๆ



เพราะสิ่งที่สำคัญในโลกทุนนิยมคือ "อำนาจของตลาด"
By: ลูกชาวนาไทย

ไม่ว่าเราจะ ลดต้นทุน หรือ เพิ่มผลผลิต อย่างไร หากราคาผลผลิตมันตกลงอย่างรวดเร็ว ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต สุดท้ายเกษตรกรก็เจ๊งอยู่ดี

ในโลกทุนนิยม เราจึงไม่อาจประมาท "อำนาจของตลาด" ไปได้

ก็เหมือนเรื่องข้าว ทั้งๆที่ตลาดข้าวเป็นตลาด "ผู้ขายน้อยราย หรือที่เรียกว่า Oligopoly" ไม่ต่างจากตลาดน้ำมัน แต่ว่า อำนาจของตลาดกลับกลายเป็นอำนาจของผู้ซื้อ ไม่ใช่อำนาจของผู้ผลิต ประเทศไทยที่ส่งออกรายใหญ่ของโลก กลับไม่สามารถกำหนดราคาอะไรได้เลย ทั้งๆที่ประเทศผู้ซื้อข้าว ก็ไม่ใช่มหาอำนาจแต่อย่างใด ไม่ได้มีอำนาจครอบงำเหนือตลาดอะไรมากนัก

ปัญหาของตลาดข้าว มันจึงอยู่ที่ "พ่อค้าส่งออก" ที่แย่งกันตัดราคา แล้วไป "กดราคารับซื้อผลผลิต" จากเกษตรกรรายย่อย ก็คือชาวนาไทยต่างๆที่ไม่มีอำนาจต่อรองใดๆในตลาดเลย "พ่อค้าส่งออก" ก็ไปตัดราคากันเองในตลาดโลก ได้ออเดอร์ข้าวมา ก็เอาไปกดราคาเกษตรกรอีกต่อหนึ่ง

ความผิดปกติของตลาดข้าว จึงอยู่ที่ "ระบบการส่งออก" ที่มีพ่อค้าส่งออกที่ทำลายผู้ผลิตของตัวเองนั่นเอง

สมมุติว่า "ผู้ผลิตข้าวไทย" เป็นฟาร์มขนาดใหญ่ทั้งหมด อำนาจของผู้ผลิตมีมากในการครอบงำตลาด ราคาข้าวก็ไม่ตกต่ำขนาดนี้ อำนาจต่อรองของผู้ผลิตย่อมมีสูง

แต่สิ่งเหล่านั้นไม่เกิดกับประเทศไทยแน่นอน เพราะเรายังมีคนอยู่ในภาคเกษตรกรรม 50% คือ มีคนเป็นชาวนา 12-15 ล้านคน ที่มีมูลค่าของผลผลิตเพียง (GDP ข้าว) 300,000 ล้านบาท ที่ต้องแบ่งกันเท่านั้น รายได้เขาจึงต่ำ คุณภาพชีวิตจึงแย่ การรวมเป็นนาขนาดใหญ่จึงไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น ยกเว้นว่าเราจะเปลี่ยนชาวนาเหล่านี้เป็น "ผู้ใช้แรงงานในโรงงานหรือเป็นคนงานปลูกข้าวได้เกินครึ่งก่อน"

การเข้ามารับซื้อข้าวทั้งหมดจากรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว แบบที่นายกฯปู ทำ และให้ราคาที่สูง เงินถึงมือเกษตรกรโดยตรง จึงเป็น "การเพิ่มรายได้ให้ชาวนาโดยตรง" หากพูดตรงๆ คือ เพิ่ม GDP การผลิตข้าว ที่แบ่งกัน 12-15 ล้านคนอย่างเป็นจริงเป็นจัง อย่างน้อยก็เพิ่มทันที 1-2 แสนล้านบาท

มันจึงเป็นคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ในการจัดระบบตลาดให้ "ผลประโยชน์ถึงชาวนาโดยตรง"

แม้ว่ารัฐอาจขาดทุน 200,000 ล้านบาท (ซึ่งจริงๆ ไม่ถึง) แต่เงินตรงนี้เหมือนการ "แบ่งเค็ก" ให้คน 12-15 ล้านคน ได้กินเค็กมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น ความสุขมวลรวมของสังคมย่อมดีขึ้น

การเข้ามาจัดการตลาดของนายกฯปูในโครงการจำนำข้าว ถึงว่าเป็น "การปฏิวัติตลาดข้าว" ยึดอำนาจจากพ่อค้าส่งออก มาจัดการผลประโยชน์ให้ชาวนาเอง

นี่คือ "ความยิ่งใหญ่ที่นายกฯปู" ได้ทำให้กับชาวนา 12-15 ล้านคน

@ ขอบคุณรัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์ ที่ทำให้ชาวนาไทยลืมตาอ้าปากได้

ปูลู... by: ลูกชาวนาไทย

คือ ผมลืมให้รายละเอียดไปว่าตลาดข้าวระดับโลกเป็นแบบนั้นครับ เป็นตลาดผู้ขายน้อยราย มีไม่กี่ประเทศที่เป็นผู้ส่งออก ดังนั้นการกำหนดราคาข้าวในตลาดโลก มันไม่มีราคาตลาดที่แท้จริง ขึ้นกับว่าใครมีอำนาจครอบงำตลาด

ส่วนการผลิตข้าวในประเทศของเรา เป็นลักษณะรายเล็ก ไม่มีอำนาจต่อรองกับผู้ค้าส่งออก ตลาดเป็นลักษณะ "ผู้ซื้อน้อยราย Oligopsony" อำนาจควบคุมตลาดก็เลยเป็นของพ่อค้าส่งออก ที่กดราคา จนชาวนาได้ตันละไม่ถึง 10,000 บาท

สรุปคือ ตลาดข้าวมันจึงมีทั้งตลาดภายในประเทศ และตลาดโลก โดยตลาดโลกจะเป็นตัวกำหนดตลาดภายในประเทศอีกทีหนึ่ง