*..รอโหลดซักกะเดี๋ยวเตง..*           วิกฤติการเมืองเรื่องฅนตอแหล..๒๕๕๕
. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

10... คุณเชื่อใคร.. ระหว่าง กนก ส.ส.ปชป. กับ หัวหน้าวินมอเตอร์ไซค์

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ มือหยาบกร้านคู่นั้น มีแต่เส้นเอ็นปูดโปน...ทำให้ผมนึกถึงมือของผู้หญิงคนหนึ่ง...
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????
@ "ลื้อมีร่มมั้ย??..." แค่คำนี้แหละ ที่ทำให้นิสัยผมเปลี่ยนทันที
@ เฮ้อ!! ณ นาทีนี้..บอกได้คำเดียว เสียดาย..เสียดายครับ...นโยบายดีๆที่คน กทม. ไม่เอ๊า..ไม่เอา...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...

คลิกดูบน youtube แล้วคลิกลิ้งค์ตามไปภาพในอดีตได้ที่นี่...

คุณเชื่อใคร??? ระหว่าง กนก ส.ส.ปชป. กับ หัวหน้าวินมอเตอร์ไซค์
By: Sky เว็บราชดำเนิน

จาก: กนก วงษ์ตระหง่าน (Kanok Wongtrangan) ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์


ในเรื่องนี้ จขกท. ได้นำเรื่องไปถามหัวหน้าวินมอเตอร์ไซค์

หัวหน้าวินฯ อธิบายว่า...

พรรคประชาธิปัตย์จะรอให้มีความพร้อมและให้คุ้มค่ากับการลงทุน ถามว่า แล้วเมื่อไรจะลงมือสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง 10 ปี หรือ 20 ปี ถัดจากนี้

หัวหน้าวินฯ เล่าว่า ที่บ้านของหัวหน้าอยู่ที่ จ.เพชรบุรี ต้นตาลที่มีในปัจจุบัน คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ปลูกไว้ และคนรุ่นลูกรุ่นหลานจึงได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากต้นตาล หากคนรุ่นก่อนไม่ปลูกต้นตาล คนรุ่นต่อมาจะมีน้ำตาลกินหรือเปล่า

หัวหน้าวินฯ เล่าว่า เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เคยมีข่าวว่าเอกชนขอสัมปทานก่อสร้างและพัฒนา "สนามบินอู่ตะเภา" แต่รัฐบาลในอดีตไม่ยอม เกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าทุจริตโกงกิน หากให้เอกชนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ปัจจุบันประเทศไทยมีสนามบินดีๆ ใช้งานอีก 1 สนามบิน

และเมื่อ 20 ปีก่อน เคยมีข่าวว่าประเทศเยอรมันจะขอทำโครงการ "ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพฯ" แต่มีบางคนขัดขวาง เพราะเห็นว่ายังไม่เหมาะสม และยังไม่ถึงเวลา หากประเทศไทยก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินในเวลานั้น ค่าก่อสร้างจะถูกกว่าปัจจุบันมาก และจะลดปริมาณรถส่วนตัวลงไปอีกมาก

และเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ใน"การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ" มีบางคนเห็นว่ายังไม่เหมาะสม ยังถมทรายและบดอัดดินไม่เพียงพอ ยังไม่สมควรก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะจะทำให้รันเวย์ทรุด แต่นายกฯทักษิณ ได้ผลักดันโครงการนี้จนแล้วเสร็จ หากในวันนี้ สนามบินสุวรรณภูมิยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ "สนามบินดอนเมือง" ไม่สามารถรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวได้แน่นอน และสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งสร้างมาได้ไม่ถึง 10 ปี ไม่สามารถรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวในปัจจุบันได้แล้ว จนรัฐบาลต้องย้ายสายการบินโลว์คอสแอร์ไลน์ มาไว้ที่สนามบินดอนเมืองแทน

หัวหน้าวินฯ สรุปให้ฟังว่า หากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่เริ่มลงมือก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงในวันนี้ ในอนาคตจะลำบาก เพราะประเทศไทยพัฒนาไปเร็วมากในปัจจุบัน การเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานจะยากขึ้น

เพราะคนไทยในปัจจุบันฉลาดมากขึ้นและประท้วงง่ายขึ้น และที่ดินมีราคาแพงขึ้นทุกวัน หากไม่ทำการก่อสร้างโครงการดังกล่าวในเวลานี้ อนาคตค่าเวนคืนที่ดินจะมีราคามหาศาลจนก่อสร้างโครงการดังกล่าวไม่ได้

และจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาส เหมือนหลายโครงการในอดีต

หัวหน้าวินฯ ยังระบุอีกว่า ที่ผ่านมาเกือบ 20 ปี เคยเห็นรัฐบาลมีโครงการพัฒนาโครงการใหญ่ๆ บ้างไหม เพราะประเทศไทย มีแต่คนที่กลัวว่าหากทำโครงการฯใดๆ ก็กลัวว่าจะมีการกล่าวหาว่าทุจริต

ดังนั้น รัฐบาลที่ผ่านมาในอดีต กินแต่บุญเก่า และทำโครงการง่ายๆ เช่น แจกเช็คช่วยชาติคนละ 2,000.- บาท หรือเข้าฝึกอบรมโครงการต้นกล้าอาชีพ อบรมอาทิตย์ละ 5 วัน แต่อบรมจริง 2-3 วัน แล้วก็รับเงินไป

หรือโครงการมิยาซาวา ที่จ้างคนดายหญ้าริมถนน เช่น ดายหญ้าริมถนนมิตรภาพ จากสระบุรีไปถึงโคราช เมื่อดายหญ้าไปถึงปลายทาง หญ้าต้นทางก็โตพอที่ต้องดายอีกครั้ง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เพียงพอในการใช้เงิน

แต่พรรคเพื่อไทยไม่กลัวที่จะทำโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไม่กลัวที่จะถูกกล่าวหาว่าจะมีการทุจริต และทำการผลักดันโครงการดังกล่าวอย่างเต็มที่

"เชื่อว่าอีก 7-8 ปี คนไทยจะได้ใช้หรือคนรุ่นลูกรุ่นหลานก็จะได้ใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแน่นอน" หัวหน้าวินฯ สรุปอย่างเชื่อมั่น

ปล. จขกท.ไม่เชื่อถือคำพูดของคุณกนก ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ แต่กลับเชื่อถือคำพูดของหัวหน้าวินฯ ที่มีอาชีพขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และชอบดูโทรทัศน์ช่องเอเซียอัพเดท มากกว่า

และขอถามว่า "สมาชิกในโต๊ะราชดำเนิน เชื่อคำพูดของใคร ระหว่างสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์หรือหัวหน้าวินรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง"?????


@ เอกสารแนบท้ายประกอบการพิจารณา พรบ. กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท


By: pamanpaman : ผมว่ารัฐมนตรีชัชชาติ หลอกไอ้หน้าโง่กนก วงศ์ตะหง่านครับ เพื่อให้มันโง่ต่อไป ความจริงคือ จาก กทม. ถึงเชียงใหม่ จะจอดรับผู้โดยสารประมาณ 15 สถานี แต่ละสถานีจะมีศูนย์การค้าอยู่ด้วย เพื่อให้ผู้คนที่มารอรับ หรือรอส่ง ได้ใช้จ่ายสินค้าด้วย ทั่วประเทศก็หลายสิบสถานี

จริงอยู่ค่าโดยสารอาจจะชำระหนี้ได้ไม่หมด แต่รายได้อื่นที่มาในรูปภาษีจะมโหฬารแน่ คนไทยช่วงนั้นจะมีประมาณ 72 ล้านคน

มานั่งเพียงปีละ 30 ล้านคน คนละ 800 บาท ก็ 24,000,000 ล้านบาทแล้ว นักท่องเที่ยว 20 ล้านคน คนละ 1,200 บาล ก็ 24,000,000 ล้านบาทแล้ว และค่าใช้จ่ายระหว่างท่องเที่ยวจะเป็นเม็ดเงินมากมาย ไอ้กนกนี่มันโง่ทุกคนจริงๆ

By: SassyKate : ประโยคนี้...ไม่รู้ว่า คุณ ส.ส. คนนี้ เอามาจากไหน...

"ดังนั้นเราต้องไปดูว่าเมืองที่รถไฟผ่าน รัฐบาลมีแผนการอะไรบ้างที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโต คำตอบคือยังไม่มีครับ...

ถ้าจะปล่อยให้เอกชนลงทุนตามสภาพเอง วันนี้รัฐบาลมีอะไรที่สร้างความมั่นใจต่ออนาคตให้เอกชนบ้าง คำตอบคือยังไม่มีครับ"

เป็นคำพูดของ รมต. ชัชชาติเหรอค่ะ?

คือ ไม่ต้องถึง รมต. ชัชชาติ หรอกค่ะ คนที่พอมีความรู้หน่อย เข้าใจชีวิตหน่อย ก็เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า "ระบบโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม" ของประเทศ มันสำคัญยังไง

"ที่บ้านถนนตัดผ่านหรือยัง" คำถามแบบนี้ ตีความได้อีกนัยนึงว่า "ความเจริญเข้าถึงหรือยัง"

ก็เป็นคำตอบทุกอย่างสำหรับโครงการนี้แล้วค่ะ ว่าประโยชน์ของโครงการนี้คืออะไร...

แต่เพราะประเทศไทยไม่เคยมี "ระบบคมนาคมและระบบขนส่งมวลชนที่ดี" ประชาชนในประเทศนี้ ต่างคนต่างขวนขวาย ทำมาหากินเอง บุกเบิก ถาง ทางเดินเอง แล้วรัฐค่อยเข้ามาปูลาดยาง หรือโรยหินดินแดง ให้

รัฐบาลที่ผ่านๆมา ตั้งแต่จำความได้ ส่วนมากล้วนแล้ว "ห่วยแตก" ไม่เคยคิดใหม่ ทำใหม่ เป็นกันยังไงมา ก็อยู่กันยังงั้นต่อไป...

พอคนที่เขามีหัวคิดก้าวหน้า มีหัวการค้า เข้ามาบริหารประเทศ เพราะอยากเห็นประชาชนอยู่ดีกินดี มีระบบการเดินทางที่ส่งเสริมให้ทำมาหากินได้ รวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และประหยัด... โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนให้ และประชาชนจ่ายคืนในรูปของการเสียภาษี...

แค่นี้เอง แต่นักบริหารประเทศรุ่นเก่า คิดไม่ออก ทำไม่ได้ โดยเฉพาะ ส.ส. พรรค เก่าแก่ พรรคนี้ ประชาธิปัตย์...

By: zeroAVA : มีรถคันแรกกันหมดแล้ว..ใครจะไปขึ้น ราคาแพงกว่ารถทัวร์..อีก คนหัวโพงแบกกล่องแบกข้าว จะขึ้นไหวเหรอ เด๋วมาประท้วงลดค่าตั๋ว

By: ริมคันนา : "...สาระไม่ได้อยู่ที่ว่า ใครจะมีตังค์หรือไม่มีตังค์ขึ้นค่ะ ความจำเป็นมันอยู่ที่ว่า เวลาญาติที่สนิทที่สุดของคุณจะเป็นจะตายเท่ากัน ถึงไม่มีตังค์คุณก็ต้องหาตังค์ขึ้นให้ได้จริงมั้ยคะ แต่ถ้าเวลาไม่จำเป็น คุณจะมานั่งเล่นทำไมล่ะคะ เมื่อถึงวันนั้น รถไฟความเร็วสูงจะจำเป็นกับคุณมากค่ะ เชื่ออย่างนั้น..."

By: TiNy SaMuN : ผมคนนึงล่ะ ที่จะขึ้น

ไปเที่ยวเชียงใหม่ ขับรถไป กว่าจะถึง ค่าน้ำมัน ค่าเสื่อม รถเท่าไหร่

นี่ไม่รวมความเสี่ยง ที่จะเกิดอุบัติเหตุ และเวลาที่เสียไประหว่างเดินทางอีกเท่าไหร่

คนขับไปถึง ก็หมดสภาพ ไปวันนึงละ ไปเช้า กว่าจะถึงก็เย็น

ไปเย็นกว่าจะถึงก็เช้า แถม อดนอนอีก เที่ยวต่อก็ไม่สนุก เพราะเพลีย

นั่งรถไฟความเร็วสูงไป หากรถเที่ยว 6 โมงเช้า 9โมงครึ่งก็ถึง เที่ยวต่อได้เลย ร่างกายไม่ล้า ไม่ต้องเสี่ยงอันตราย

ไม่เสียเวลาเดินทาง

ทำไมจะไม่ดีครับ

ผมเคยนั่งเครื่องไป เชียงใหม่ เพื่อไปเที่ยว ก็สบายดี ไปเช่ารถที่เชียงใหม่ ขับเที่ยวที่นั่น สะดวกสบาย ไม่ล้า

แต่ก็เบื่อเวลาที่ต้องไป เช็คอิน รอเครื่องออก ซึ่งรวมๆ ก็กินเวลาเป็นชั่วโมง

หากรถไฟความเร็วสูงมีเวลาออก เวลาถึงที่แน่นอน ก็ไม่จำเป็นต้องไปนั่งรอรถออกนานๆ ไปถึงก่อนรถออกแค่ 5 นาที

ไปถึงเที่ยวต่อได้เลยไม่เสียเวลาเที่ยว ร่างกายก็พร้อม ไม่ดียังไง หรือครับ


By: มาเฟีย ลงพุง : เมื่อปี46ผมซื้อบ้านแค่6.9แสน ปี51ผมขายคืนไป1.35ล้าน/มาซื้อที่ใหม่9.8แสน ราคาตอนนี้1.65ล้าน...รถไฟเร็วสูงก็ถ้าไม่สร้างปีนี้ก็คงไม่ได้ราคานี้...

ต้องบอกก่อนเลยว่า..นี่คือการเปรียบเทียบนะครับ...

เริ่มแรกผมมาซื้อบ้านพฤกษา11ในนามหลาน(ใช้เครดิตหลาน) 6.9แสน ตอนนั้นถ้าใครไม่กล้าอยู่ก็ไม่ได้ราคานี้..ไฟฟ้าไม่มี(กำลังทำเรื่องขอ)แต่ทางโครงการใช้เครื่องปั่นไฟให้แทน เปิด7-22น. ส่วนน้ำก็เช่นกันใช้น้ำบาดาลจากเครื่องปั่นไฟ ถนนก็ลาดยางเก่าๆ ความเจริญยังไม่ถึง

เรียกว่า ไม่รู้ว่านอนๆอยู่งูเหลือม/เสือจะมาคาบไปกินเมื่อไร 55555

พอทักษิณสร้างหมู่บ้านเอื้ออาทร มีรถเมล์เข้ามา มีถนนดีขึ้น มีโทรศัพท์ของทรู ไฟ้ฟ้าเพิ่มเป็น3สาย น้ำประปามา รถเมล์สาย187ทั้งเมล์ร้อนและแอร์ มาวิ่งเข้า กทม.ถึงสี่พระยา/...จากราคา6.9แสนในปี2546แค่5ปีเพิ่มขึ้นมาเท่าตัวผมขายคืนให้หลานไป1.35ล้าน..(ขายในราคา85%ของราคาประเมินนะครับ)

มาซื้อใหม่ลึกกว่าเดิม ความเจริญยังมาไม่ถึงทาวน์เฮ้าส์37ตรว.เปิดโครงการ9.8แสนในปี2549 /ปี54น้ำท่วม ผมรีไฟแนนท์ใหม่หลังน้ำท่วม ธ.ให้ผม1ล้าน4แสน6หมื่น2พัน (แค่85%ของราคาประเมินเท่านั้นนะครับ ถ้าเป็นราคาเต็มก็ประมาณ1.6ล้าน) ตอนนี้มีรถเมล์ผ่านหน้าหมู่บ้านมีเคเบิ้ล มีเน็ต มีโทรศัพท์ น้ำไฟ รถตู้พร้อมสรรพ

ทั้งหมดนี้ผมกำลังจะบอกว่าเมื่อความเจริญเข้ามา..ราคาที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่างๆย่อมมีราคาขึ้นไปด้วย..รัฐได้อะไรครับ..ก็ได้ภาษีไง ใครขาย ใครซื้อ รัฐเก็บได้หมด เงินที่เขาขายได้ก็นำมาใช้จ่ายหมุนไปหมุนมานั่นเอง

เช่นกันครับ การสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง การสร้างรถไฟรางคู่ เพื่อเพิ่มความเร็ว..เมื่อคนเดินทางสะดวกขึ้น ก็มีการย้ายถิ่นฐานไปตั้งชุมชนใหม่มากขึ้น..การซื้อ-ขายที่ดินหรือความเจริญที่รถไฟผ่านก็มีมากขึ้น (ปัจจุบันดูเอาครับ ถ้าเป็นสถานีอำเภอ/เล็กๆหรือระดับ จว.บางจังหวัด แทบร้าง เพราะไม่มีการลงทุนเปลี่ยนแปลงอะไรเลยในรอบ50ปี รถไฟเดิมๆ มาช้าเหมือนเดิม คนใช้บริการนับวันจะน้อยลง..มีแต่ขายออกหรือทิ้งร้าง)

ถ้ามีรถไฟเร็วสูง มีรถไฟรางคู่ คนก็หันมาใช้มากกว่าเดิม และย้ายมาลงทุนตามสถานีมากขึ้น ชุมชนขยายออกไป..เมื่อความเจริญมาถึง..แบบนี้พวกสลิ่ม/แมงสาปคิดไม่เป็นครับ..คิดแต่ว่า

รถไฟเร็วสูง ไม่คุ้ม เมื่อเทียบกับจำนวนคนจะโดยสาร..แต่ไม่กล้าคิดว่า ความเจริญที่กระจายออกไปในชุมชนต่างๆที่รถไฟผ่าน..มากมาย..

ดูง่ายๆครับ สถานเชียงราก/หรือสถานีรังสิตบ้านผมนี่แหละ ถ้าไม่มีหมู่บ้านรัตนโกสินทร์200ปีมาสร้าง ผีหลอกเอาง่ายๆครับ ยิ่งเชียงรากด้วยแล้ว ..มืดๆใครอย่าได้เดินครับ..

เพราะคนใช้น้อย..แต่ถ้ามีรถไฟเร็วสูง/รางคู่ขึ้นมา ใครๆก็อยากใช้บริการเพราะ ปลอดภัย..สะดวก นั่นเอง ทุกที่ที่มีสถานีครับ

ถ้าเราคอยให้หัวเมืองต่างๆเจริญ จนคิดว่าเหมาะสมกับการลงทุน.. คิดง่ายๆครับ..แค่5ปี ราคาที่จะก่อสร้างขึ้นไปอีกอย่างน้อยๆก็30-40%

การเดินทาง สะดวกสบายรวดเร็วปลอดภัย ต้องนำไปก่อนครับ..แล้วความเจริญของชุมชนจะตามมา..

ที่ค้านๆเนี่ย เพราะ กลัวสูญพันธ์เมื่อเขาสร้างเสร็จนั่นเอง เชื่อผมเถอะ555555555

เพิ่มเติม

เราเคยดูหนังไอ้กัน ไหมครับ

เขาใช้รถไฟนี่แหละกระจายความเจริญไปยังรัฐต่างๆ..เชื่อมหัวเมืองออกไป ตั้งเป็นสถานีแล้วก็จะเกิดชุมชนขึ้นมา..

@ ทำความเข้าใจก่อนวิจารณ์ "การลงทุน 2 ล้านล้าน" กับ รัฐมนตรีชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์

@ แต่อดีตจวบปัจจุบัน... ลูกอีช่างค้าน ค้านแม่ง..ทุกเรื่อง

@ เขียนให้อ่าน..จากใจ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

@ ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร


สะเทือน ลึกซึ้ง ของ ไทยแลนด์ 2020 2.2 ล้านล้านบาท
หน้า 3,มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2556

การปรากฏขึ้นของร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ

ส่งผลสะเทือนเป็นอย่างสูง

สูงอย่างเหลือเชื่อ ไม่เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ออกมา "ค้าน" หากสิ่งที่เรียกว่า "ส.ส.ร.50" ก็ออกมา "ต้าน"

ต้านรุนแรงถึงกับยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.

ค้านต่อเนื่องไม่เพียงแต่ในขั้นวาระ 1 รับหลักการ หากแต่ยังโยงสายยาวไปยังขั้นกรรมาธิการ และการแปรญัตติในวาระ 2

แปรญัตติทุกมาตรา และทำท่าจะแปรกันทุกคน

ใครที่เคยเห็นบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในการเตะถ่วง รั้งดึง ก่อกวน ระหว่างพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขมาตรา 291 เมื่อปี 2555

ก็จะได้เห็นอีก

อาจกล่าวได้ว่า บทบาทพรรคประชาธิปัตย์ บทบาทของสิ่งที่เรียกว่า "ส.ส.ร.50" เป็นผลสะเทือนในด้านลบ

ขณะที่ผลสะเทือนในด้านบวกก็ยังมี

หากประเมินจากรายละเอียดอันปรากฏจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ก็จะยอมรับในการเตรียมการ

เตรียมการในการลดบทบาทของ "หัวลำโพง"

เป้าหมายใหม่คือพื้นที่ย่านพหลโยธิน จำนวน 2,325 ไร่ จะได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของประเทศ

พื้นที่นี้เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมตั้งแต่บริเวณบางซื่อ เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์, หมอชิต, สวนจตุจักร และกิโลเมตรที่ 11 แผนก็คือ จะย้ายกระทรวงคมนาคมจากถนนราชดำเนินมา จะย้ายการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มา

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เลย

ขณะเดียวกัน หากว่าร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ผ่านวาระ 2 วาระ 3 ประกาศและบังคับใช้ นั่นหมายถึงไฟเขียวผ่านตลอด

ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม โครงการรถไฟความเร็วสูงก็จะเริ่มขยับ

ทาง 1 เป็นการขยับให้ต่างประเทศเสนอระบบรถไฟความเร็วสูง โดยกระทรวงคมนาคมจะกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นไว้และเน้นด้านเทคนิค จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือก

ฝันของประชาชนก็จะค่อยๆ ปรากฏเป็นจริง

ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางรถไฟในยุคฮาว เดอะ เวสต์ ว้อส วัน ของสหรัฐในยุคบุกเบิก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางรถไฟในสมัยราชวงศ์ชิงของจีน

ส่งผลสะเทือนเป็นอย่างสูง

อาจดูเป็นผลสะเทือนในด้านวัตถุ อาจดูเป็นผลสะเทือนในด้านเทคโนโลยี แต่ก็มีแรงสั่นไหวไปอย่างกว้างขวาง

กล่าวสำหรับแผนไทยแลนด์ 2020 ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เมื่อมองผ่านระบบรถไฟรางคู่อันถือว่าเป็นการปฏิวัติ เมื่อมองผ่านระบบรถไฟความเร็วสูงอันถือว่าเป็นการก้าวกระโดด

นี่ย่อมเป็นอีกยุค 1 เมื่อเทียบกับสมัยรัชกาลที่ 5

ไม่เพียงแต่โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะมีลักษณะต่อเนื่องและเชื่อมโยงในทางโลจิสติกส์ระหว่าง รถไฟ ถนน การขนส่งทางเรือ การขนส่งทางอากาศ หากแต่ด้วยความเร็วที่เร็วขึ้นมีผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองใหญ่แผ่ออกไปใน 4 ทิศทาง

ขยายตัวทั้งในด้านคน ขยายตัวทั้งในด้านความเจริญ

ยิ่งเมื่อนำเอาโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดนี้ประสานเข้ากับการเชื่อมต่อจากจีน และการเชื่อมต่อเข้ากับโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ขั้วการขนส่งของโลกก็จะแปรเปลี่ยน

ไปโลด โกอินเตอร์

แน่นอน การคัดค้าน ต่อต้านจากฝ่ายที่ไม่อยากเห็นการพัฒนาปรากฏขึ้นเด่นชัดเป็นลำดับ

เป็นความแจ่มชัดจากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นความแจ่มชัดจากสิ่งที่เรียกว่า "ส.ส.ร.50" อันเปรียบได้เหมือนผีลุกขึ้นมาจากหลุม

ไม่ต้องการความก้าวหน้า ไม่ต้องการเห็นการพัฒนา


By: คนการเมือง : สำหรับท่านที่วิตกกังวลว่าลูกหลานจะต้องใช้หนี้ถึง 50 ปี

ให้ท่านสั่งเสีย บอกลูกหลานของท่านเลยนะครับ

ถ้ารัฐบาลนี้ หรือรัฐบาลต่อๆไป เค้าส่งบิลไปเรียกเก็บหนี้สาธารณะจากเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทของ รบ.นี้

ให้เค้าเอาบิลมาเบิกกับลูกหลานผมได้เลยครับ ผมจะสั่งเสีย บอกให้เค้าแถมค่ารถให้อีกด้วย

By: kajokkub : กลัวเป็นหนี้ 50 ปี ปล่อยให้เป็นเวรกรรมของลูกหลานไทยเอาเองสร้างทางเกวียนให้ละกัน...50 ปีข้างหน้า ถ้าจะคิดทำ จะลงทุนเท่าไหร่???

ช่วงนี้ คนยุคเรา ก็ทะเลาะฆ่ากันไปก่อน ปล่อยเป็นเวรกรรมของลูกหลาน เขาอยากมีไหม การสร้างความเจริญให้จากยุคนี้

สร้างทางเกวียนไว้ให้ละกัน อีก 10 ปี 50 ปี อยากสร้างค่อยว่ากัน แต่ถ้าจะสร้าง อาจจะต้องใช้ เงิน 10.2 ล้านล้านบาทก็ได้

ยุคเรา เขียนไว้ให้ลูกหลานได้ อ่านต่อไปว่า ว่า อย่าให้มีพรรคการเมือง แบบ ปชป. อยู่ในแผ่นดินจะดีมาก


การสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยสังเขป

ในวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๖๘ (ต้นรัชกาลที่ ๓) มีการเปิดเดินรถไฟสายแรกของโลก ระหว่างเมืองสต๊อกตันกับดาลิงตัน ประเทศอังกฤษ (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๒๕)

วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ (นับอย่างปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ. ๒๔๓๑) มีการลงพระนามและลงนามระหว่างพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทยกับพลโท เซอร์แอนดรู คลาก ชาวอังกฤษ และคณะตัวแทนผู้รับจ้างสำรวจความเหมาะสมในการสร้างทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยจะต้องสำรวจและประมาณราคาให้เสร็จภายใน ๔๘ เดือน ผู้รับจ้างต้องประมาณราคาสร้างทางรถไฟทั้งขนาดความกว้างของรางรถไฟ ๑ เมตร ๑.๔๓๕ เมตร และ ๖๐ เซนติเมตร โดยไทยจะจ่ายค่าจ้างสำรวจไมล์ละไม่เกิน ๑๐๐ ปอนด์ (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๓๕-๑๔๐)

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้มีพระบรมราชโองการตั้งกรมรถไฟเป็นกรมขึ้นกับกระทรวงโยธาธิการ มีนายเบทเกวิศวกรชาวเยอรมันเป็นเจ้ากรมรถไฟคนแรก (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๔๑)

วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้มีการประกาศขายหุ้นลงทุนสร้างทางรถไฟแก่มหาชน ๑๖๐,๐๐๐ หุ้น หุ้นละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๒ แสนชั่ง หรือ ๑๖ ล้านบาท (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๔๐-๑๔๑) เพื่อเป็นเงินทุนมาสมทบกับเงินทุนที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติกันไว้แล้วส่วนหนึ่ง

วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ มีการเปิดซองประมูลการก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปรากฏว่ามีผู้ยื่นประมูล ๒ ราย

รายแรก นายเล็นซ์ (Lenz) ตัวแทนของบริษัทเยอรมันซึ่งมีธนาคารเยอรมัน ๓ ธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน ประมูลในราคา ๑๑,๙๗๖,๙๒๕.๕๐ บาท (ตัวเลขกลมๆ 12 ล้าน)

รายที่ ๒ นายยี. มูเร แกมป์เบลล์ (George Murray Campbell) ชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ มีห้างซาดินเมเทธชั่นแห่งอังกฤษเป็นผู้ค้ำประกัน ประมูลในราคา ๙,๙๕๖,๑๖๔ บาท (ตัวเลขกลมๆ 10 ล้าน)

รายที่ ๒ ชนะการประมูลเพราะเสนอราคาต่ำกว่ารายแรกมากกว่า ๒ ล้าน ได้มีการทำสัญญากับตัวแทนของรัฐบาลไทยในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๔๔-๑๔๕)

สรุป: ค่าสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 264 กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 17,585,000 บาท (ตัวเลขกลมๆ 18 ล้านบาท)

การสร้างทางรถไฟสายใต้

การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ พ.ศ. 2452 รัตนโกสินทร์ศักราช 128

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 2 นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชาแผ่นดินชาวอเมริกาเสนอ ให้ไทยแลกดินแดนมลายูกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของคนในประเทศอังกฤษในประเทศไทย ขอกู้เงินสร้างทางรถไฟสายใต้ และยกเลิกอนุสัญญาลับปี พ.ศ. 2440 การดำเนินงานนี้ประสบผลสำเร็จ มีการลงนาม ในสนธิสัญญา วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 มีใจความสำคัญดังต่อไปนี้

รัฐบาลไทยยอมยกดินแดนรัฐมลายู คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส รวมทั้งเกาะใกล้เคียงให้อังกฤษ ฝ่ายอังกฤษยอมให้คนในบังคับอังกฤษทั้งยุโรปและเอเชีย ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับกงสุลก่อนทำสัญญา ให้ไปขึ้นกับศาลต่างประเทศ ส่วนคนในบังคับอังกฤษ ที่จดทะเบียนหลัง ทำสนธิสัญญาฉบับนี้ให้ไปขึ้นศาลไทย แต่ขอให้มีที่ปรึกษาทางกฎหมายเป็นชาวยุโรปเข้าร่วมพิจารณาด้วย แต่ศาลกงสุลของอังกฤษก็ยังมีสิทธิจะถอนคด ของคนในบังคับอังกฤษไปพิจารณาได้

สนธิสัญญานี้มีผลกระทั่งไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายให้ครบถ้วนเป็นเวลา 5 ปี ในสัญญานี้ให้ยกเลิกอนุสัญญาลับ พ.ศ. 2440 ด้วย และการสร้างรถไฟสายใต้ รัฐบาลอังกฤษจะให้รัฐบาลไทยกู้เงิน 5 ล้านปอนด์ โดยคิดดอกเบี้ยต่ำ แต่ต้องให้ชาวอังกฤษเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้เอง เพราะอังกฤษต้องการให้บรรจบกับทางรถไฟในมลายูของอังกฤษ [ทางรถไฟสายใต้ ระยะทาง 1,144 กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 62,435,195 บาท (ตัวเลขกลมๆ 63 ล้านบาท)]

สรุป: ค่าสร้างทางรถไฟสายใต้ ......?????????????????