*..รอโหลดซักกะเดี๋ยวเตง..*           วิกฤติการเมืองเรื่องฅนตอแหล..๒๕๕๕
. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

08... เขียนให้อ่าน..จากใจ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ มือหยาบกร้านคู่นั้น มีแต่เส้นเอ็นปูดโปน...ทำให้ผมนึกถึงมือของผู้หญิงคนหนึ่ง...
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????
@ "ลื้อมีร่มมั้ย??..." แค่คำนี้แหละ ที่ทำให้นิสัยผมเปลี่ยนทันที
@ เฮ้อ!! ณ นาทีนี้..บอกได้คำเดียว เสียดาย..เสียดายครับ...นโยบายดีๆที่คน กทม. ไม่เอ๊า..ไม่เอา...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...




เมื่อต้องเขียนจากใจ โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
@ ที่มา: มติชนรายวัน 4 เม.ย.2556

ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปได้ ดูแล้วบ้านเมืองเรา บางอย่างก็เปลี่ยนไปหมด

ไข่เป็ดเคยถูกกว่าไข่ไก่ เดี๋ยวนี้ไข่เป็ดก็แพงกว่าไข่ไก่ เนื้อวัวเคยถูกกว่าเนื้อหมูเดี๋ยวนี้ก็แพงกว่า ไข่ไก่รัฐบาลสมัยจอมพล ป. เคยโฆษณาว่าดีรับประทาน มากๆ ได้ เดี๋ยวนี้ก็ว่าไม่ดี จะเพิ่มไขมันในเส้นเลือด

สุภาษิตสมัยก่อนกล่าวว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เดี๋ยวนี้ก็ตีลูกไม่ได้เสียแล้ว แต่วัวยังผูกได้หรือเปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าต้องเลี้ยงด้วยเบียร์แล้วคนก็ต้องนวดให้วัว

เคยท่องกันว่ากฎหมายห้ามใช้ย้อนหลังในทางที่จะเป็นโทษ เดี๋ยวนี้ก็ใช้กันหน้าตาเฉย เคยพร่ำสอนกันตามภาษิตกฎหมายว่า "ไม่มีกฎหมาย ไม่มีผิด" หรือคนทำผิดได้ต้องมีกฎหมายบอกว่าผิด แต่รัฐธรรมนูญของเราก็บอกว่าทำได้ แล้วแต่กรณี แล้วศาลก็เคยตัดสินมาแล้วด้วย

เคยเข้าใจว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นสถาบันที่ควรจะต้องได้รับการยอมรับ และความเคารพนับถือมากที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันศาลอื่นๆ ผูกพันรัฐสภา ผูกพันคณะรัฐมนตรี ผูกพันองค์กรอิสระต่างๆ

ก็เลยเข้าใจว่าศาลสูงสุดเช่นนี้ ต้องได้ตุลาการที่เข้าใจซาบซึ้งในเรื่องระบอบการปกครองประชาธิปไตย ซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ระบอบนี้เป็นระบอบที่อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย นอกจากเข้าใจตัวหนังสือที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ

ที่สำคัญต้องมีจิตเป็นอุเบกขาปราศจากเสียซึ่งความรัก ความเกลียด และต้องเข้าใจถึงบทบาทของตน

แต่เมื่อประธานออกมาสารภาพเสียเองว่าการวินิจฉัยตัดสินคดีนายกรัฐมนตรีสมัคร น่าจะวินิจฉัยแบบสุกเอาเผากิน ยกข้อกฎหมายมาก่อนข้อเท็จจริง รวมทั้งนิยามการกระทำตามพจนานุกรม

ในกรณีคดีนายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตัดสินไปด้วยมูลเหตุจูงใจที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ถ้าพรรคฝ่ายค้านจับมือกับพรรครัฐบาลก็จะตัดสินอีกอย่างหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเมื่อตัดสินไป ความขัดแย้งนอกจากจะไม่ยุติแล้วยังกลับกลายเป็นความขัดแย้งถาวรไป เพราะคนระดับรากหญ้าทนไม่ได้กับการมีสองมาตรฐาน รู้สึกว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกดูถูกเหยียดหยามว่าเป็นเสียงที่ไม่มีคุณภาพ เป็นเสียงที่ซื้อได้ ไม่เหมือนเสียงของคนชั้นสูง เป็นเสียงที่มีคุณภาพซื้อไม่ได้ เมื่อถูกถามว่าแล้วจะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ก็ตอบว่าเป็น "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" ซึ่งไม่ทราบแปลว่าอะไร

การที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะยืมคำเศรษฐศาสตร์ที่นิยามเศรษฐกิจอังกฤษยุคที่พรรคแรงงานเฟื่องฟู ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบ "เดินหน้าและถอยหลัง" หรือ "stop and going" กล่าวคือพอเศรษฐกิจเริ่มขยับตัวไปข้างหน้า สหภาพแรงงานของอังกฤษก็ขอขึ้นค่าแรง ทำให้เกิดเงินเฟ้อ เศรษฐกิจก็ชะงักงันไปพักใหญ่ สหภาพก็หยุดเรียกร้องการขึ้นค่าแรง พอเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นอีก สหภาพแรงงานก็เอาอีกอยู่อย่างนี้

การเมืองไทยตลอด 80 ปีที่ผ่านมาก็เหมือนกัน มีประชาธิปไตยบ้าง ปฏิวัติบ้าง ครึ่งใบบ้าง สลับกันไปมาจนถึงปี 2549 แต่ตอนนี้ทำท่าเหมือนจะต้องไปในแนวทางประชาธิปไตยถาวร เพราะเกิดมีขบวนการประชาชนถาวรขึ้นทั้ง 2 ข้าง แต่ข้างประชาธิปไตยมีคนมากกว่า เลือกตั้งทีไรก็ชนะทุกที ต่างประเทศก็จ้องดูอยู่ คงทำแบบ stop and go ลำบากขึ้น และจะมีเรื่องตั้งข้อสังเกตได้อีกมาก


@ "โภคิน พลกุล"เห็นต่าง "ศาลรธน."รับตีความ"ม.68"

หึหึ...สร้อยเหม็นเอ๊ย!!



ดร.โสภณ พรโชคชัย วิพากษ์ ความเห็น วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
By: ดร.โสภณ พรโชคชัย Matichon News

ตามที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้แสดงปาฐกถาความตอนหนึ่งว่า "ถ้าย้อนไปดูประวัติศาสตร์ฮิตเลอร์ยังได้เป็นผู้นำที่ได้มาจากการเลือกตั้ง เมื่อชนะการเลือกตั้งได้พรรคพวกมาในสภาก็ได้แก้ไขกฎหมายเพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง ในที่สุดผู้นำเสียงข้างมากก็นำพาเยอรมันไปสู่หายนะก็คือประเทศเยอรมัน" [1] ข้อความนี้ไม่สอดคล้องกับความจริง

แม้ฮิตเลอร์จะมาจากการเลือกตั้ง ก็เป็นการเลือกตั้งที่โกงมา รวมทั้งการทำลายคู่แข่ง และที่สำคัญไม่ได้ชนะด้วยเสียงส่วนใหญ่ ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ.2476 ฮิตเลอร์ได้คะแนนเสียง 44% ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และแม้ฮิตเลอร์จะชนะการเลือกตั้งใน 33 จาก 35 เขตเลือกตั้ง ก็ไม่ใช่โดยเสียงส่วนใหญ่อยู่ดี [2] ดังนั้นการที่ฮิตเลอร์นำเยอรมนีเข้าสู่สงครามจึงไม่ใช่มติของชาวเยอรมันส่วนใหญ่

บางคนเข้าใจว่าคนส่วนน้อยเห็นได้ถูกต้องกว่าคนส่วนใหญ่ เช่น คดี Perry v. Schwarzenegger ซึ่งศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาพิพากษาไปเมื่อ 4 สิงหาคม 2553 ว่า ผลการลงประชามติของชาวมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2551 ที่มีมติห้ามคนเพศเดียวกันสมรสกันนั้น ขัดต่อหลักความเสมอภาคและขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา คำพิพากษานี้ดูประหนึ่งว่าศาลตัดสินไปในทางที่ขัดต่อมติมหาชน (Anti-Majoritarian Decision) คล้ายกับว่า "เมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียงข้างมากรับรู้ไว้” [3]

ข้อนี้ก็เป็นความเข้าใจผิด ความจริงก็คือประชามติของชาวมลรัฐหนึ่ง จะไปขัดกับรัฐธรรมนูญของทั้งประเทศ (ซึ่งมาจากฉันทามติของคนทั้งประเทศ) ย่อมไม่ได้อยู่แล้ว ประชามติของคนกลุ่มย่อยเช่นนี้ย่อมไม่มีผล เช่น ชาวฮาวายจะลงประชามติแยกออกจากสหรัฐอเมริกาคงไม่ได้ หรือกรณีมติของคณะโจรว่าจะไปปล้นบ้านไหน ชุมชนไหน ย่อมใช้ไม่ได้เพราะโจรไม่ใช่คนส่วนใหญ่ในสังคม

อย่างไรก็ตาม หากมีการลงประชามติกันทั่วประเทศห้ามการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็ต้องแก้กฎหมายตามเสียงส่วนใหญ่ ผู้พิพากษาก็คงไม่อยู่ในวิสัยที่จะออกมาพูดเป็นอื่นในที่สาธารณะหรือมาตัดสินเป็นอื่นได้ ดังนั้นมันจึงเป็นคนละเรื่องกัน จะกล่าวว่าศาล (ผู้พิพากษาไม่กี่คน) ซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียงข้างมากไม่ได้

เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้องนั้นเป็นสัจธรรม (แต่กฎทุกกฎก็มีข้อยกเว้น ในกรณีศิลปวิทยาการ เช่นจะสร้างจรวดไปดวงจันทร์ ก็ต้องถามผู้รู้ เป็นต้น) ทั้งนี้ยกเว้นกรณีถูกโฆษณาชวนเชื่อ หรืองมงายเอง ซึ่งไม่ใช่พบเห็นแต่ในหมู่ปุถุชน แม้แต่อาจารย์ระดับดอกเตอร์ชื่อดังยังหลงคารมเปรตกู้มาแล้ว หรือกรณีพวกคุณหญิงคุณนาย นายทหารใหญ่ๆ ก็ไปหลงเคารพอลัชชี เป็นต้น

ยิ่งกว่านั้น นายวสันต์ยังกล่าวว่า "เยอรมันจึงมีศาลรัฐธรรมนูญและมีอำนาจมาก และมีบทบัญญัติพิทักษ์รัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน" การที่ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนีมีเกียรติภูมิสูงนั้นเป็นเพราะสภาเป็นผู้เลือกตั้งผู้พิพากษาที่สมัครเข้ามาตามคุณสมบัติที่กำหนด [4] แต่กรณีศาลรัฐธรรมนูญของไทย กลับแตกต่างกัน โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 204 ระบุที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกา 3 คน ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน โดยทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับเลือกโดยวิธีลงคะแนนลับ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องอื่นอีก 2 คน [5]

อีกประเด็นหนึ่งที่พึงวิพากษ์การแสดงปาฐกถาของนายวสันต์ก็คือ ความไม่สมควรในวิจารณ์หรือเหน็บแนมการเมืองในฐานะที่เป็นตุลาการ ทั้งนี้ตามประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องจริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่าตุลาการต้อง "ระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นต่อสื่อมวลชนหรือสาธารณชนในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เสนอหรืออาจจะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย" [6]

นอกจากนั้นในประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการยังระบุว่า "ผู้พิพากษาไม่พึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน หรือเข้าร่วมสัมมนา อภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสาธารณชน ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา" [7] ดังนั้นการแสดงปาฐกถาครั้งนี้ซึ่งพาดพิงถึงบุคคลและพรรคการเมืองต่างๆ เป็นจำนวนมาก จึงไม่ควรทำ เว้นแต่จะลาออกจากสถานะตุลาการ

หากผู้เป็นตุลาการออกมาพูดการเมือง จะถูกติเตียนว่าเอนเอียงได้ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน โดยผลจากการสำรวจเมื่อปี 2554 [4] พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ (57%) ไม่เชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 37.62 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ส่วนร้อยละ 19.31 ไม่เชื่อมั่น) และมีส่วนน้อยที่เชื่อมั่น เหตุผลที่ไม่เชื่อมั่นก็เพราะ "เพราะการตัดสินคดีที่ผ่านมา มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางคดีมองว่าเป็นการตัดสินแบบ 2 มาตรฐาน" [8]

ผู้เขียนเป็นห่วงใยต่อความมั่นคงของสถาบันตุลาการจึงแสดงความเห็นข้างต้นมาด้วยความเคารพและด้วยความบริสุทธิ์ใจ

อ้างอิง...

[1] "ปธ.ศาล รธน. ชี้ เสียงข้างมากหากยึดติดอำนาจ ประเทศจะหายนะ"

[2] การเลือกตั้งในเยอรมนี German federal election, March 1933.

[3] กิตติศักดิ์ ปรกติ. สิ่งที่คล้ายกันพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน แต่ไม่พึงปฏิบัติอย่างเดียวกันกับสิ่งที่ต่างกัน ปรกติ 28 กันยายน 2554

[4] ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมนี [4] .pdf หน้า 276

[5] ที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ

[6] ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง จริยธรรมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (พ.ศ.2548) และ พ.ศ.2555

[7] ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ

[8] ดุสิตโพลคนกรุง 37.62% ไม่เชื่อศาล รธน.-"วสันต์" แนะตั้ง ส.ส.ร.แก้ รธน.


เปรียบเทียบหน้าที่ของ ศาลรัฐธรรมนูญ กับ หุ่นยนต์
By: สานครศรี

หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

1. เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ทำตัวใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ

2. ทำหน้าที่วินิจฉัยว่า กฎหมาย(พรบ.,พรก,พระราชกฤษฎีกา,กฎกระทรวง,ระเบียบ,คำสั่งฯลฯ) ที่ตราใช้บังคับขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่

ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ไม่อนุญาตให้ทำนอกเหนือจากที่รัฐธรรมนูญกำหนด

3. ไม่มีหน้าที่วินิจฉัยว่าควรหรือไม่ควรแก้รัฐธรรมนูญ

4. ไม่มีหน้าที่วินิจฉัยว่าควรแก้รัฐธรรมนูญมาตราใดได้บ้าง แม้แต่มาตราที่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง

5. ต้องยอมรับว่า ฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้นที่มีอำนาจตรา แก้ไข กฎหมายใดๆ รวมทั้งรัฐธรรมนูญ

หากเปรียบเทียบระหว่าง ประชาชน(ฝ่ายนิติบัญญัติ) กับ ศาลรัฐธรรมนูญ

คล้ายๆกับว่า ฝ่ายนิติบัญญัติกำลังออกแบบสร้างหุ่นยนต์ตัวหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ปกป้องประชาชน

หุ่นยนต์ตัวนี้จะมีแขนขาเยอะแยะอันเป็นกลไกไว้คอยป้องกันประชาชน เช่น แขนข้างซ้าย1(ปปช.) แขนซ้าย2(กกต.) แขนข้างขวา1(ศาลรัฐธรรมนูญ) แขนข้างขวา2(ศาลยุติธรรม) และแขนอื่นๆอีกหลายข้าง(นั่นก็คือองค์กรอิสระต่างๆที่ไม่ได้เอ่ยถึง) ซึ่งแต่ละแขนก็มีอาวุธของตนเองทั้งนั้น

วันหนึ่ง ประชาชนบอกกับ ฝ่ายนิติบัญญัติ(ทำหน้าที่คล้ายวิศวกร) ว่า แขนบางข้างดูไม่ดี หูสองข้างน่าจะขยับสักนิด ดวงตาน่าจะเพิ่มอีกหนึ่งดวงฯลฯ พูดง่ายๆว่า น่าจะปรับแบบใหม่เสียบ้าง โดยยังคงเป็นหุ่นยนต์ไว้คอยปกป้องประชาชนเหมือนเดิม

คำถามจึงมีเพียงแค่ถามว่า จะทำได้มั๊ย ถ้าทำไม่ได้เป็นอำนาจของใครที่จะมาห้ามได้ และถ้า แขนข้างขวา1 มาบอกว่า ห้ามแตะต้อง ห้ามแก้ไขนะ ไม่งั้นตรูจะฟันคนสร้างให้ขาดสองท่อน ท่านคิดว่าถูกต้องมั๊ย

เป็นการเปรียบเทียบคลายเครียดเล่นๆที่น่าสนใจดี


รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ครอบคลุมกฎหมายอื่นทั้งหมด
By: ตาเป๋า

เอาสักหนึ่งมาตรา ที่มาของ สว. มาจากเลือกตั้ง 76 มาจากแต่งตั้ง 74

74 คนที่แต่งตั้งมา เขาก็ทำงานให้คนแต่งตั้งเขา

ซึ่งคนแต่งตั้งมีแค่ 7-8 คนเท่านั้น ผลประโยชน์ตกที่ใคร

ส่วนอีก 76 คนที่มาจากการเลือกของประชาชน เขาก็ทำเพื่อประชนที่เลือกเขามา

ถ้าเราแก้เป็นให้ สว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด สว. ทั้งหมดก็จะทำงานเพื่อประชาชน

ข้อนี้ข้อเดียว เห็นหรือยัง แก้รัฐธรรมนูญแล้วประชาชนได้อะไร ... ผมรู้สึกโง่โง่ยังไงชอบก๊ล

@ ทำความเข้าใจก่อนวิจารณ์ "การลงทุน 2 ล้านล้าน" กับ รัฐมนตรีชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์

@ แต่อดีตจวบปัจจุบัน... ลูกอีช่างค้าน ค้านแม่ง..ทุกเรื่อง

@ ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

@ คุณเชื่อใคร.. ระหว่าง กนก ส.ส.ปชป. กับ หัวหน้าวินมอเตอร์ไซค์