*..รอโหลดซักกะเดี๋ยวเตง..*           วิกฤติการเมืองเรื่องฅนตอแหล..๒๕๕๕
. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ


PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

14... คำแปล ปาฐกถาพิเศษ ปชต."นายกฯยิ่งลักษณ์"ที่มองโกเลีย

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ มือหยาบกร้านคู่นั้น มีแต่เส้นเอ็นปูดโปน...ทำให้ผมนึกถึงมือของผู้หญิงคนหนึ่ง...
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????
@ "ลื้อมีร่มมั้ย??..." แค่คำนี้แหละ ที่ทำให้นิสัยผมเปลี่ยนทันที
@ เฮ้อ!! ณ นาทีนี้..บอกได้คำเดียว เสียดาย..เสียดายครับ...นโยบายดีๆที่คน กทม. ไม่เอ๊า..ไม่เอา...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...





ปาฐกถาพิเศษ ปชต."ยิ่งลักษณ์"ที่มองโกเลีย
ยก"ตัวเอง-รัฐบาลทักษิณ-เหยื่อ91ศพ" เป็นอุทาหรณ์


เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556 เฟสบุ๊คของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เผยแพร่ ปาฐกถาพิเศษ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมประชาคมประชาธิปไตย อูลัน บาตอ, มองโกเลีย ดังนี้

คำแปลปาฐกถาพิเศษ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร การประชุมประชาคมประชาธิปไตย อูลัน บาตอ, มองโกเลีย 29 เมษายน 2013 โดย Yingluck Shinawatra (บันทึก) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2013 เวลา 8:47 น.

ท่านประธาน,
ท่านผู้มีเกียรติ,
ท่านผู้เข้าร่วมประชุม,

ดิฉันขอเริ่มด้วยการขอบคุณท่านประธานาธิบดีแห่งมองโกเลียที่ได้เชิญให้ดิฉันมาปาฐกถา ณ การประชุมประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้

ดิฉันได้ตอบรับเชิญไม่เพียงเพราะดิฉันต้องการที่จะได้มีโอกาสเยือนมองโกเลียประเทศที่ประสบความสำเร็จในความเป็นประชาธิปไตย หรือไม่ได้มาเพียงที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยแต่ดิฉันเดินทางมาที่นี่เพราะความเป็นประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อดิฉันอย่างมากและที่สำคัญยิ่งกว่าคือความไม่เป็นประชาธิปไตยมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศบ้านเกิดของดิฉันประเทศไทยที่ดิฉันรัก

ประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่เป็นแนวคิดอุดมการณ์ใหม่ในช่วงเวลาที่ผ่านมายาวนานแนวทางประชาธิปไตยได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าและความหวังสำหรับผู้คนจำนวนมากและในขณะเดียวกัน ผู้คนจำนวนมากได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องรักษาและสร้างความเป็นประชาธิปไตย

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ารัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ได้ได้มาฟรีๆ สิทธิ เสรีภาพและความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงมีความเท่าเทียมกันนั้นได้มาด้วยการต่อสู้และที่น่าเศร้าใจคือ ทำให้ต้องมีผู้เสียชีวิต

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรือ?ก็เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยในโลกนี้ที่ไม่เชื่อในแนวคิดประชาธิปไตย คนเหล่านี้พร้อมที่จะให้ได้มาด้วยอำนาจและด้วยการกดขี่การมีเสรีภาพนั่นหมายความว่าพวกเขาพร้อมที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น เขาไม่เคารพสิทธิมนุษยชนหรือความเสรีภาพพวกเขาพร้อมจะใช้กำลังเพื่อกดขี่ให้คนอยู่ใต้อำนาจ และยังใช้อำนาจในทางที่ผิด สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในอดีตและยังคงท้าทายเราทุกคนในปัจจุบัน

มีหลายประเทศที่ความเป็นประชาธิปไตยได้หยั่งรากลึกแล้วซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและเป็นความรู้สึกสดชื่นที่ได้เห็นกระแสประชาธิปไตยที่นำความเปลี่ยนแปลงสู่ประเทศต่างๆจากปรากฏการณ์อาหรับสปริงค์ถึงช่วงผ่านเปลี่ยนในเมียนมาร์ภายใต้ผลักดันของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของดิฉัน ด้วยพลังของประชาชนคนไทยที่ทำให้ดิฉันมายืนอยู่ที่นี่ได้ในวันนี้

ในระดับภูมิภาคหลักการสำคัญๆในปฏิญญาอาเซียนก็ยึดมั่นในหลักนิติธรรม, ประชาธิปไตยและรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันเราทุกคนต้องระมัดระวังว่าแรงปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยไม่เคยที่จะถดถอยลดน้อยลงดิฉันขอยกเรื่องของดิฉันเองเป็นอุทาหรณ์

ในปี1997 ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งร่างขึ้นโดยที่ประชาชนมีส่วนร่วม เราทุกคนคิดว่ายุคใหม่ของประชาธิปไตยไทยมาถึงแล้วและจะเป็นยุคสมัยที่ไร้การรัฐประหาร

แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งถึงสองครั้งสองหนด้วยเสียงส่วนใหญ่ถูกล้มลงในปี 2006 ประเทศไทยเสมือนรถไฟตกรางและประชาชนคนไทยใช้เวลาเกือบ10 ปีกว่าที่จะได้เสรีภาพแห่งประชาธิปไตยกลับคืนมา

หลายคนที่อยู่ในที่ประชุมแห่งนี้รู้ว่ารัฐบาลที่ดิฉันพูดถึงคือรัฐบาลที่พี่ชายของดิฉันพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

หลายคนที่ไม่รู้จักดิฉันอาจบอกว่า เธอจะบ่นไปทำไม? เป็นเรื่องปกติในกระบวนการการเมืองที่รัฐบาลมาแล้วก็ไปซึ่งหากตัวดิฉันและครอบครัวของดิฉันต้องเจ็บปวดแต่ฝ่ายเดียว ดิฉันก็คงจะปล่อยวาง

แต่นั่นก็ไม่ใช่ความเป็นไปที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหารประเทศไทยต้องถอยหลังและสูญเสียความน่าเชื่อถือต่อนานาชาติหลักนิติธรรมและกระบวนการกฎหมายถูกทำลาย โครงการและแผนงานที่พี่ชายของดิฉันริเริ่มตามที่ประชาชนต้องการถูกยกเลิกประชาชนเกิดความรู้สึกว่าสิทธิเสรีภาพของเขาถูกปล้นไป

คำว่า"ไทย" หมายความว่า "อิสระ" และประชาชนคนไทยก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้เสรีภาพคืนมาแต่ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมของผู้เรียกร้องกลุ่มคนเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 91 คนในใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ

คนบริสุทธิ์ถูกลอบยิงโดยสไนป์เปอร์แกนนำการชุมนุมต้องติดคุกหรือหลบหนีไปต่างประเทศ และแม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่

ประชาชนคนไทยไม่ท้อถอยและยืนยันที่จะเดินไปข้างหน้าจนในที่สุดรัฐบาลในขณะนั้นต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งก็มีฝ่ายปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยที่เชื่อว่าจะบริหารจัดการและบิดเบือนเจตนารมณ์ประชาธิปไตยได้ต่อแต่ในที่สุดพวกเขาก็ไม่สามารถปฏิเสธความต้องการของประชาชนได้ดิฉันได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ

แต่เรื่องราวนั้นยังไม่จบ มีความชัดเจนว่าผู้ที่มีปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยยังคงอยู่รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นในรัฐบาลภายใต้คณะรัฐประหารได้ใส่กลไกที่ตีกรอบเพื่อจำกัดความเป็นประชาธิปไตย

ตัวอย่างหนึ่งที่ดีในประเด็นนี้จะเห็นได้จากที่จำนวนครึ่งหนึ่งของวุฒิสภาไทยมาจากการเลือกตั้ง แต่อีกครึ่งหนึ่งกลับได้รับการแต่งตั้งโดยกลุ่มคนเล็กๆกลุ่มหนึ่งยิ่งกว่านั้น กลไกที่เรียกว่าองค์กรอิสระได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริงเป็นการดำเนินการเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหนึ่งมากกว่าเพื่อคนส่วนใหญ่ของสังคม

นี่คือความท้ายทายของประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันดิฉันนั้นต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศไทยและประชาธิปไตยของไทยพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยหลักนิติธรรมและกระบวนการทางกฎหมายที่แข็งแรงมีขั้นตอนที่ชัดเจนโปร่งใสและเมื่อนั้นทุกคนจะสามารถมั่นใจได้ว่าเขาจะได้รับการดูแลที่ยุติธรรมเจตจำนงนี้ ดิฉันได้แสดงออกโดยประกาศเป็นนโยบายต่อที่ประชุมของรัฐสภาก่อนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

ความมีประชาธิปไตยทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองเกิดสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการลงทุน นำมาสู่การสร้างงานสร้างรายได้ที่สำคัญดิฉันเชื่อว่าเสรีภาพทางการเมืองเป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจและนำมาซึ่งการลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนจนคนรวย

นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นความสำคัญที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าเราจะต้องเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา เพราะการศึกษาสร้างโอกาสด้วยความรู้ และปลูกฝังวัฒนธรรมทางประชาธิปไตยในวิถีชีวิตของประชาชน

เมื่อประชาชนมีความรู้ประชาชนจะสามารถตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถปกป้องความเชื่อของตนจากผู้ที่ต้องการกดขี่และนี่คือเหตุผลที่ประเทศไทยสนับสนุนข้อเสนอของมองโกเลียในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติเกี่ยวกับการศึกษาและประชาธิปไตย

การลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนก็สำคัญเช่นกันมนุษย์ทุกคนควรมีโอกาสที่เท่าเทียมกันเราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมที่แท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจและเสริมสร้างประชาธิปไตยของประเทศ

นี่คือเหตุผลที่รัฐบาลต้องริเริ่มนโยบายที่จะเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสร้างชีวิตที่ดีกว่าและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ดิฉันได้เริ่มต้นไว้หลายโครงการ รวมถึงการสร้างกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และวิสาหกิจขนดกลางขนาดย่อม ในขณะที่ได้กำหนดมาตรการยกระดับรายได้ของเกษตรกร

และดิฉันเชื่อว่าเราต้องการการนำที่มีประสิทธิภาพและมีความสร้างสรรค์ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรมตลอดจนความสร้างสรรค์ในการหาทางออกที่สันติในการแก้ไขปัญหาของประชาชน

เราต้องการการนำที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในซีกรัฐบาลแต่ในฝ่ายค้านและประชาชนทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนต้องเคารพกฎหมายและช่วยกันสร้างประชาธิปไตย

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ,

อีกบทเรียนที่ได้เรียนรู้คือเพื่อนในต่างประเทศมีความสำคัญการกดดันจากนานาชาติที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยทำให้กระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยคงอยู่ได้การคว่ำบาตรและการไม่ยอมรับเป็นกลไกที่สำคัญที่จะหยุดกระบวนการปฏิกิริยาที่ต่อต้านประชาธิปไตย

เวทีนานาชาติอย่างประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้มีบทบาทที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยยืนหยัดอยู่ได้การส่งเสริมและปกป้องประชาธิปไตยด้วยการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นประสบการณ์และสร้างความร่วมมือหากประเทศใดก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ทุกคนต้องร่วมกันกดกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนำเสรีภาพกลับคืนสู่ประชาชน

ดิฉันขอยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนเวทีนี้และการดำเนินงานของสภาบริหาร(GoverningCouncil) เพื่อจะได้ช่วยให้ประชาธิปไตยแข็งแกร่งขึ้นทั่วโลกนอกจากนี้ดิฉันขอชื่นชมประธานาธิบดีมองโกเลียสำหรับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเอเชียเพื่อประชาธิปไตย(Asian Partnership Initiative for Democracy) และทางรัฐบาลไทยพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือในส่วนนี้

ท่านผู้มีเกียรติ,

ดิฉันขอปิดท้ายด้วยการประกาศว่าดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันได้รับ ที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมืองไทย และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม2553 ต้องเผชิญ จะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายสำหรับประเทศไทย

ขอให้เราทุกคนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเพื่อที่เสรีภาพและอิสรภาพของมนุษย์ได้รับการปกปักษ์รักษาเพื่อลูกหลานและคนรุ่นต่อๆไป

ขอบคุณค่ะ


Statement of Her Excellency
Ms. Yingluck Shinawatra
Prime Minister of the Kingdom of Thailand


at the 7th Ministerial Conference of the Community of Democracies
Ulaanbaatar, Mongolia, 29 April 201

Mr. Chairman,
Excellencies,
Delegates to the Conference,
Ladies and Gentlemen,

I wish to begin by expressing my appreciation to His Excellency the President of Mongolia for inviting me to speak at this Conference of the Community of Democracies.

I accepted this invitation not only because I wanted to visit a country that has made many achievements regarding democracy, or to exchange ideas and views on democracy. But I am here also because democracy is so important to me, and more importantly, to the people of my beloved home, Thailand.

Democracy is not a new concept. Over the years, It has brought progress and hope to a lot of people. At the same time, many people have sacrificed their blood and lives in order to protect and build a democracy.

A government of the people, by the people and for the people does not come without a price. Rights, liberties and the belief that all men and women are created equal have to be fought, and sadly, died for.

Why? This is because there are people in this world who do not believe in democracy. They are ready to grab power and wealth through suppression of freedom. This means that they are willing to take advantage of other people without respecting human rights and liberties. They use force to gain submission and abuse the power. This happened in the past and still posed challenges for all of us in the present.

In many countries, democracy has taken a firm root. And it is definitely refreshing to see another wave of democracy in modern times, from Arab Spring to the successful transition in Myanmar through the efforts of President Thein Sein, and also the changes in my own country where the people power in Thailand has brought me here today.

At the regional level, the key principles in the ASEAN Charter are the commitment to rule of law, democracy and constitutional government. However, we must always beware that anti-democratic forces never subside. Let me share my story.

In 1997, Thailand had a new constitution that was created through the participation from the people. Because of this, we all thought a new era of democracy has finally arrived, an era without the cycle of coups d’?tat.

It was not to be. An elected government which won two elections with a majority was overthrown in 2006. Thailand lost track and the people spent almost a decade to regain their democratic freedom.

Many of you here know that the government I am talking about was the one with my brother, Thaksin Shinawatra, as the rightfully elected Prime Minister.

Many who don’t know me say that why complain? It is a normal process that governments come and go. And if I and my family were the only ones suffering, I might just let it be.

But it was not. Thailand suffered a setback and lost international credibility. Rule of law in the country was destroyed. Projects and programmes started by my brother’s government that came from the people’s wishes were removed. The people felt their rights and liberties were wrongly taken away.

Thai means free, and the people of Thailand fought back for their freedom. In May 2010, a crackdown on the protestors, the Red Shirts Movement, led to 91 deaths in the heart of the commercial district of Bangkok.

Many innocent people were shot dead by snipers, and the movement crushed with the leaders jailed or fled abroad. Even today, many political victims remain in jail.

However, the people pushed on, and finally the government then had to call for an election, which they thought could be manipulated. In the end, the will of people cannot be denied. I was elected with an absolute majority.

But the story is not over. It is clear that elements of anti-democratic regime still exist. The new constitution, drafted under the coup leaders led government, put in mechanisms to restrict democracy.

A good example of this is that half of the Thai Senate is elected, but the other half is appointed by a small group of people. In addition, the so called independent agencies have abused the power that should belong to the people, for the benefit of the few rather than to the Thai society at large.

This is the challenge of Thai democracy. I would like to see reconciliation and democracy gaining strength. This can only be achieved through strengthening of the rule of law and due process. Only then will every person from all walks of life can feel confident that they will be treated fairly. I announced this as part of the government policy at Parliament before I fully assumed my duties as Prime Minister.

Moreover, democracy will also promote political stability, providing an environment for investments, creating more jobs and income. And most importantly, I believe political freedom addresses long term social disparities by opening economic opportunities that would lead to reducing the income gap between the rich and the poor.

That is why it is so important to strengthen the grassroots. We can achieve this through education reforms. Education creates opportunities through knowledge, and democratic culture built into the ways of life of the people.

Only then will the people have the knowledge to be able to make informed choices and defend their beliefs from those wishing to suppress them. That is why Thailand supported Mongolia’s timely UNGA resolution on education for democracy.

Also important is closing gaps between rich and poor. Everyone should be given opportunities and no one should be left behind. This will allow the people to become an active stakeholder in building the country’s economy and democracy.

That is why my Government initiated policies to provide the people with the opportunities to make their own living and contribute to the development of our society. Some of these include creating the Women Development Fund, supporting local products and SMEs as well as help raising income for the farmers.

And I believe you need effective and innovative leadership. Effective in implementing rule of law fairly. Innovative in finding creative peaceful solutions to address the problems of the people.

You need leadership not only on the part of governments but also on the part of the opposition and all stakeholders. All must respect the rule of law and contribute to democracy.

Ladies and Gentlemen,

Another important lesson we have learnt was that international friends matter. Pressure from countries who value democracy kept democratic forces in Thailand alive. Sanctions and non-recognition are essential mechanisms to stop anti-democratic regimes.

An international forum like Community of Democracies helps sustain democracy, seeking to promote and protect democracy through dialogue and cooperation. More importantly, if any country took the wrong turn against the principle of democracy, all of us here need to unite to pressure for change and return freedom to the people.

I will always support the Community of Democracies and the work of the Governing Council. I also welcome the President’s Asian Partnership Initiative for Democracy and will explore how to extend our cooperation with it.

Ladies and Gentlemen,

I would like to end my statement by declaring that, I hope that the sufferings of my family, the families of the political victims, and the families of the 91 people, who lost their lives in defending democracy during the bloodshed in May 2010, will be the last.

Let us continue to support democracy so that the rights and liberties of all human beings will be protected for future generations to come!

Thank you.


@ โฆษกรัฐบาลยืนยันปาฐกถาของนายกรัฐมนตรีไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียหายเพราะนายกฯ พูดความจริง

@ ดาวน์โหลดภาพความละเอียดสูงได้ที่นี่...


ท่านประธาน,
ท่านผู้มีเกียรติ,
ท่านผู้เข้าร่วมประชุม,

Mr. Chairman,
Excellencies,
Delegates to the Conference,
Ladies and Gentlemen,

ดิฉันขอเริ่มด้วยการขอบคุณท่านประธานาธิบดีแห่งมองโกเลียที่ได้เชิญให้ดิฉันมาปาฐกถา ณ การประชุมประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้

I wish to begin by expressing my appreciation to His Excellency the President of Mongolia for inviting me to speak at this Conference of the Community of Democracies.

ดิฉันได้ตอบรับเชิญไม่เพียงเพราะดิฉันต้องการที่จะได้มีโอกาสเยือนมองโกเลียประเทศที่ประสบความสำเร็จในความเป็นประชาธิปไตย หรือไม่ได้มาเพียงที่จะได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยแต่ดิฉันเดินทางมาที่นี่เพราะความเป็นประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อดิฉันอย่างมากและที่สำคัญยิ่งกว่าคือความไม่เป็นประชาธิปไตยมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศบ้านเกิดของดิฉันประเทศไทยที่ดิฉันรัก

I accepted this invitation not only because I wanted to visit a country that has made many achievements regarding democracy, or to exchange ideas and views on democracy. But I am here also because democracy is so important to me, and more importantly, to the people of my beloved home, Thailand.

ประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่เป็นแนวคิดอุดมการณ์ใหม่ในช่วงเวลาที่ผ่านมายาวนานแนวทางประชาธิปไตยได้นำมาซึ่งความก้าวหน้าและความหวังสำหรับผู้คนจำนวนมากและในขณะเดียวกัน ผู้คนจำนวนมากได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องรักษาและสร้างความเป็นประชาธิปไตย

Democracy is not a new concept. Over the years, It has brought progress and hope to a lot of people. At the same time, many people have sacrificed their blood and lives in order to protect and build a democracy.

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ารัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ได้ได้มาฟรีๆ สิทธิ เสรีภาพและความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงมีความเท่าเทียมกันนั้นได้มาด้วยการต่อสู้และที่น่าเศร้าใจคือ ทำให้ต้องมีผู้เสียชีวิต

A government of the people, by the people and for the people does not come without a price. Rights, liberties and the belief that all men and women are created equal have to be fought, and sadly, died for.

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรือ?ก็เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยในโลกนี้ที่ไม่เชื่อในแนวคิดประชาธิปไตย คนเหล่านี้พร้อมที่จะให้ได้มาด้วยอำนาจและด้วยการกดขี่การมีเสรีภาพนั่นหมายความว่าพวกเขาพร้อมที่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น เขาไม่เคารพสิทธิมนุษยชนหรือความเสรีภาพพวกเขาพร้อมจะใช้กำลังเพื่อกดขี่ให้คนอยู่ใต้อำนาจ และยังใช้อำนาจในทางที่ผิด สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในอดีตและยังคงท้าทายเราทุกคนในปัจจุบัน

Why? This is because there are people in this world who do not believe in democracy. They are ready to grab power and wealth through suppression of freedom. This means that they are willing to take advantage of other people without respecting human rights and liberties. They use force to gain submission and abuse the power. This happened in the past and still posed challenges for all of us in the present.

มีหลายประเทศที่ความเป็นประชาธิปไตยได้หยั่งรากลึกแล้วซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและเป็นความรู้สึกสดชื่นที่ได้เห็นกระแสประชาธิปไตยที่นำความเปลี่ยนแปลงสู่ประเทศต่างๆจากปรากฏการณ์อาหรับสปริงค์ถึงช่วงผ่านเปลี่ยนในเมียนมาร์ภายใต้ผลักดันของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศของดิฉัน ด้วยพลังของประชาชนคนไทยที่ทำให้ดิฉันมายืนอยู่ที่นี่ได้ในวันนี้

In many countries, democracy has taken a firm root. And it is definitely refreshing to see another wave of democracy in modern times, from Arab Spring to the successful transition in Myanmar through the efforts of President Thein Sein, and also the changes in my own country where the people power in Thailand has brought me here today.

ในระดับภูมิภาคหลักการสำคัญๆในปฏิญญาอาเซียนก็ยึดมั่นในหลักนิติธรรม, ประชาธิปไตยและรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย แต่ในขณะเดียวกันเราทุกคนต้องระมัดระวังว่าแรงปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยไม่เคยที่จะถดถอยลดน้อยลงดิฉันขอยกเรื่องของดิฉันเองเป็นอุทาหรณ์

At the regional level, the key principles in the ASEAN Charter are the commitment to rule of law, democracy and constitutional government. However, we must always beware that anti-democratic forces never subside. Let me share my story.

ในปี1997 ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งร่างขึ้นโดยที่ประชาชนมีส่วนร่วม เราทุกคนคิดว่ายุคใหม่ของประชาธิปไตยไทยมาถึงแล้วและจะเป็นยุคสมัยที่ไร้การรัฐประหาร

In 1997, Thailand had a new constitution that was created through the participation from the people. Because of this, we all thought a new era of democracy has finally arrived, an era without the cycle of coups d’?tat.

แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งถึงสองครั้งสองหนด้วยเสียงส่วนใหญ่ถูกล้มลงในปี 2006 ประเทศไทยเสมือนรถไฟตกรางและประชาชนคนไทยใช้เวลาเกือบ10 ปีกว่าที่จะได้เสรีภาพแห่งประชาธิปไตยกลับคืนมา

It was not to be. An elected government which won two elections with a majority was overthrown in 2006. Thailand lost track and the people spent almost a decade to regain their democratic freedom.

หลายคนที่อยู่ในที่ประชุมแห่งนี้รู้ว่ารัฐบาลที่ดิฉันพูดถึงคือรัฐบาลที่พี่ชายของดิฉันพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

Many of you here know that the government I am talking about was the one with my brother, Thaksin Shinawatra, as the rightfully elected Prime Minister.

หลายคนที่ไม่รู้จักดิฉันอาจบอกว่า เธอจะบ่นไปทำไม? เป็นเรื่องปกติในกระบวนการการเมืองที่รัฐบาลมาแล้วก็ไปซึ่งหากตัวดิฉันและครอบครัวของดิฉันต้องเจ็บปวดแต่ฝ่ายเดียว ดิฉันก็คงจะปล่อยวาง

Many who don’t know me say that why complain? It is a normal process that governments come and go. And if I and my family were the only ones suffering, I might just let it be.

แต่นั่นก็ไม่ใช่ความเป็นไปที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหารประเทศไทยต้องถอยหลังและสูญเสียความน่าเชื่อถือต่อนานาชาติหลักนิติธรรมและกระบวนการกฎหมายถูกทำลาย โครงการและแผนงานที่พี่ชายของดิฉันริเริ่มตามที่ประชาชนต้องการถูกยกเลิกประชาชนเกิดความรู้สึกว่าสิทธิเสรีภาพของเขาถูกปล้นไป

But it was not. Thailand suffered a setback and lost international credibility. Rule of law in the country was destroyed. Projects and programmes started by my brother’s government that came from the people’s wishes were removed. The people felt their rights and liberties were wrongly taken away.

คำว่า"ไทย" หมายความว่า "อิสระ" และประชาชนคนไทยก็ได้ลุกขึ้นต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้เสรีภาพคืนมาแต่ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีการสลายการชุมนุมของผู้เรียกร้องกลุ่มคนเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 91 คนในใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ

Thai means free, and the people of Thailand fought back for their freedom. In May 2010, a crackdown on the protestors, the Red Shirts Movement, led to 91 deaths in the heart of the commercial district of Bangkok.

คนบริสุทธิ์ถูกลอบยิงโดยสไนป์เปอร์แกนนำการชุมนุมต้องติดคุกหรือหลบหนีไปต่างประเทศ และแม้แต่ทุกวันนี้ยังคงมีเหยื่อทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ติดคุกอยู่

Many innocent people were shot dead by snipers, and the movement crushed with the leaders jailed or fled abroad. Even today, many political victims remain in jail.

ประชาชนคนไทยไม่ท้อถอยและยืนยันที่จะเดินไปข้างหน้าจนในที่สุดรัฐบาลในขณะนั้นต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งก็มีฝ่ายปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยที่เชื่อว่าจะบริหารจัดการและบิดเบือนเจตนารมณ์ประชาธิปไตยได้ต่อแต่ในที่สุดพวกเขาก็ไม่สามารถปฏิเสธความต้องการของประชาชนได้ดิฉันได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ

However, the people pushed on, and finally the government then had to call for an election, which they thought could be manipulated. In the end, the will of people cannot be denied. I was elected with an absolute majority.

แต่เรื่องราวนั้นยังไม่จบ มีความชัดเจนว่าผู้ที่มีปฏิกิริยาต่อต้านประชาธิปไตยยังคงอยู่รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นในรัฐบาลภายใต้คณะรัฐประหารได้ใส่กลไกที่ตีกรอบเพื่อจำกัดความเป็นประชาธิปไตย

But the story is not over. It is clear that elements of anti-democratic regime still exist. The new constitution, drafted under the coup leaders led government, put in mechanisms to restrict democracy.

ตัวอย่างหนึ่งที่ดีในประเด็นนี้จะเห็นได้จากที่จำนวนครึ่งหนึ่งของวุฒิสภาไทยมาจากการเลือกตั้ง แต่อีกครึ่งหนึ่งกลับได้รับการแต่งตั้งโดยกลุ่มคนเล็กๆกลุ่มหนึ่งยิ่งกว่านั้น กลไกที่เรียกว่าองค์กรอิสระได้ใช้อำนาจเกินขอบเขตแทนประชาชนเจ้าของอำนาจที่แท้จริงเป็นการดำเนินการเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหนึ่งมากกว่าเพื่อคนส่วนใหญ่ของสังคม

A good example of this is that half of the Thai Senate is elected, but the other half is appointed by a small group of people. In addition, the so called independent agencies have abused the power that should belong to the people, for the benefit of the few rather than to the Thai society at large.

นี่คือความท้ายทายของประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันดิฉันนั้นต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในประเทศไทยและประชาธิปไตยของไทยพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยหลักนิติธรรมและกระบวนการทางกฎหมายที่แข็งแรงมีขั้นตอนที่ชัดเจนโปร่งใสและเมื่อนั้นทุกคนจะสามารถมั่นใจได้ว่าเขาจะได้รับการดูแลที่ยุติธรรมเจตจำนงนี้ ดิฉันได้แสดงออกโดยประกาศเป็นนโยบายต่อที่ประชุมของรัฐสภาก่อนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

This is the challenge of Thai democracy. I would like to see reconciliation and democracy gaining strength. This can only be achieved through strengthening of the rule of law and due process. Only then will every person from all walks of life can feel confident that they will be treated fairly. I announced this as part of the government policy at Parliament before I fully assumed my duties as Prime Minister.

ความมีประชาธิปไตยทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองเกิดสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดการลงทุน นำมาสู่การสร้างงานสร้างรายได้ที่สำคัญดิฉันเชื่อว่าเสรีภาพทางการเมืองเป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจและนำมาซึ่งการลดช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนจนคนรวย

Moreover, democracy will also promote political stability, providing an environment for investments, creating more jobs and income. And most importantly, I believe political freedom addresses long term social disparities by opening economic opportunities that would lead to reducing the income gap between the rich and the poor.

นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นความสำคัญที่จะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าเราจะต้องเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา เพราะการศึกษาสร้างโอกาสด้วยความรู้ และปลูกฝังวัฒนธรรมทางประชาธิปไตยในวิถีชีวิตของประชาชน

That is why it is so important to strengthen the grassroots. We can achieve this through education reforms. Education creates opportunities through knowledge, and democratic culture built into the ways of life of the people.

เมื่อประชาชนมีความรู้ประชาชนจะสามารถตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนและสามารถปกป้องความเชื่อของตนจากผู้ที่ต้องการกดขี่และนี่คือเหตุผลที่ประเทศไทยสนับสนุนข้อเสนอของมองโกเลียในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติเกี่ยวกับการศึกษาและประชาธิปไตย

Only then will the people have the knowledge to be able to make informed choices and defend their beliefs from those wishing to suppress them. That is why Thailand supported Mongolia’s timely UNGA resolution on education for democracy.

การลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจนก็สำคัญเช่นกันมนุษย์ทุกคนควรมีโอกาสที่เท่าเทียมกันเราต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สิ่งนี้จะทำให้ประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมที่แท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจและเสริมสร้างประชาธิปไตยของประเทศ

Also important is closing gaps between rich and poor. Everyone should be given opportunities and no one should be left behind. This will allow the people to become an active stakeholder in building the country’s economy and democracy.

นี่คือเหตุผลที่รัฐบาลต้องริเริ่มนโยบายที่จะเพิ่มโอกาสให้ประชาชนสร้างชีวิตที่ดีกว่าและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ดิฉันได้เริ่มต้นไว้หลายโครงการ รวมถึงการสร้างกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม ในขณะที่ได้กำหนดมาตรการยกระดับรายได้ของเกษตรกร

That is why my Government initiated policies to provide the people with the opportunities to make their own living and contribute to the development of our society. Some of these include creating the Women Development Fund, supporting local products and SMEs as well as help raising income for the farmers.

และดิฉันเชื่อว่าเราต้องการการนำที่มีประสิทธิภาพและมีความสร้างสรรค์ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและหลักนิติธรรมตลอดจนความสร้างสรรค์ในการหาทางออกที่สันติในการแก้ไขปัญหาของประชาชน

And I believe you need effective and innovative leadership. Effective in implementing rule of law fairly. Innovative in finding creative peaceful solutions to address the problems of the people.

เราต้องการการนำที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในซีกรัฐบาลแต่ในฝ่ายค้านและประชาชนทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนต้องเคารพกฎหมายและช่วยกันสร้างประชาธิปไตย

You need leadership not only on the part of governments but also on the part of the opposition and all stakeholders. All must respect the rule of law and contribute to democracy.

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ,

Ladies and Gentlemen,

อีกบทเรียนที่ได้เรียนรู้คือเพื่อนในต่างประเทศมีความสำคัญการกดดันจากนานาชาติที่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยทำให้กระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยคงอยู่ได้การคว่ำบาตรและการไม่ยอมรับเป็นกลไกที่สำคัญที่จะหยุดกระบวนการปฏิกิริยาที่ต่อต้านประชาธิปไตย

Another important lesson we have learnt was that international friends matter. Pressure from countries who value democracy kept democratic forces in Thailand alive. Sanctions and non-recognition are essential mechanisms to stop anti-democratic regimes.

เวทีนานาชาติอย่างประชาคมประชาธิปไตยแห่งนี้มีบทบาทที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยยืนหยัดอยู่ได้การส่งเสริมและปกป้องประชาธิปไตยด้วยการหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นประสบการณ์และสร้างความร่วมมือหากประเทศใดก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ทุกคนต้องร่วมกันกดกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนำเสรีภาพกลับคืนสู่ประชาชน

An international forum like Community of Democracies helps sustain democracy, seeking to promote and protect democracy through dialogue and cooperation. More importantly, if any country took the wrong turn against the principle of democracy, all of us here need to unite to pressure for change and return freedom to the people.

ดิฉันขอยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนเวทีนี้และการดำเนินงานของสภาบริหาร(GoverningCouncil) เพื่อจะได้ช่วยให้ประชาธิปไตยแข็งแกร่งขึ้นทั่วโลกนอกจากนี้ดิฉันขอชื่นชมประธานาธิบดีมองโกเลียสำหรับข้อริเริ่มความเป็นหุ้นส่วนเอเชียเพื่อประชาธิปไตย(Asian Partnership Initiative for Democracy) และทางรัฐบาลไทยพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือในส่วนนี้

I will always support the Community of Democracies and the work of the Governing Council. I also welcome the President’s Asian Partnership Initiative for Democracy and will explore how to extend our cooperation with it.

ท่านผู้มีเกียรติ,

Ladies and Gentlemen,

ดิฉันขอปิดท้ายด้วยการประกาศว่าดิฉันหวังว่าความเจ็บปวดที่ครอบครัวของดิฉันได้รับ ที่ครอบครัวของเหยื่อทางการเมืองไทย และครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้ง 91 คนในเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม2553 ต้องเผชิญ จะเป็นความเจ็บปวดครั้งสุดท้ายสำหรับประเทศไทย

I would like to end my statement by declaring that, I hope that the sufferings of my family, the families of the political victims, and the families of the 91 people, who lost their lives in defending democracy during the bloodshed in May 2010, will be the last.

ขอให้เราทุกคนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเพื่อที่เสรีภาพและอิสรภาพของมนุษย์ได้รับการปกปักษ์รักษาเพื่อลูกหลานและคนรุ่นต่อๆไป

Let us continue to support democracy so that the rights and liberties of all human beings will be protected for future generations to come!

ขอบคุณค่ะ

Thank you.


วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

13... เป็นเพราะว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหล่านี้ไม่มีสำนึกในการรักษาความยุติธรรม..และยังทำลายความยุติธรรมด้วยมือของตนเองอีกด้วย...

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ มือหยาบกร้านคู่นั้น มีแต่เส้นเอ็นปูดโปน...ทำให้ผมนึกถึงมือของผู้หญิงคนหนึ่ง...
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????
@ "ลื้อมีร่มมั้ย??..." แค่คำนี้แหละ ที่ทำให้นิสัยผมเปลี่ยนทันที
@ เฮ้อ!! ณ นาทีนี้..บอกได้คำเดียว เสียดาย..เสียดายครับ...นโยบายดีๆที่คน กทม. ไม่เอ๊า..ไม่เอา...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...




ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานสภาผู้แทน บรมครูทางด้านกฎหมาย ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในการกระทำของบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ...
ต่อ...

คุณจรัลครับ ได้ยินคุณจรัลตัดพ้อแล้วผมไม่ค่อยสบายใจเลยครับ
By: ทวดเอง

คุณจรัลนำศาลรัฐธรรมนูญไปเปรียบเป็นกรรมการ และเปรียบคนเสื้อแดงที่ไปเรียกร้องให้หยุดกันทำหน้าที่เป็นนักมวยนั้น ผมว่าคุณจรัลเปรียบเปรยผิดแล้วครับ

คุณจรัลอาจเปรียบตัวเองเป็นกรรมการได้ แต่คนเสื้อแดงไม่ใช่นักมวยครับ แต่เป็นคนดูที่เสียเงินเข้าชมต่างหากครับ และค่าตั๋วที่เข้าชมนั้น ก็เป็นเงินทั้งค่าตัวของนักมวยและกรรมการด้วย พูดอย่างนี้แล้วคุณจรัลพอจะมองเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นหรือยังครับ

คุณจรัลครับ เมื่อคนดูเสียค่าชมแล้ว ก็อยากเห็นการแข่งขันที่บริสุทธิ์ยุติธรรม อยากเห็นการแข่งขันที่ขาวสะอาด อยากเห็นการชนะหรือพ่ายแพ้ ต้องอยู่ที่ฝีมือการต่อสู้ ภายใต้เงื่อนไขของกติกา เพราะความลำเอียงเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม มักจะก่อให้เกิดความวุ่นวายตามมาเสมอครับคุณจรัล

กรรมการมวยก็เช่นกันครับคุณจรัล เมื่อเร็วๆนี้ นักมวยของเราไปแข่งขันที่ญี่ปุ่น แล้วถูกปล้นชัยชนะโดยพวกกรรมการตัวดีนี่แหละครับ อย่าว่าแต่ผู้ชมชาวไทยเลยครับ แม้แต่ผู้ชมญี่ปุ่น สื่อฯญี่ปุ่นยังตีกระพือถึงความอัปยศในครั้งนี้กันอย่างอึกทึกคึกโครม มันกลายเป็นรอยด่างที่ไม่ใช่แค่กรรมการเท่านั้น แม้แต่ตัวนักมวยเองที่ถูกเหล่ากรรมการโอบอุ้มมานั้น ก็ตกอยู่ภายใต้คำติฉินนินทาถึงความสามารถที่แท้จริง กลายเป็นทำลายเกียรติภูมิของนักมวย รวมทั้งของประเทศด้วย

คุณจรัลครับ กรรมการมวยก็มีกฎของกรรมการน่ะครับ เมื่อทำผิดกฎ ย่อมต้องมีการลงโทษ บางท่านถูกพักงาน บางท่านถูกไล่ออก และบางท่านยังถูกปรับด้วยซ้ำไป ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยได้เห็นคนดูไล่ต่อยกรรมการมวย นอกจากโห่ฮาป่าเท่านั้นเอง แล้วพวกท่านล่ะครับ เคยถูกทำโทษเพราะตัดสินผิดพลาดกันบ้างหรือเปล่าครับ

คุณจรัลครับ คุณจรัลเคยดูมวยปล้ำหรือเปล่าครับ ถ้าเคยดูก็คงเคยเห็นกรรมการเข้าข้างนักมวยอย่างน่าเกลียด จนกลายเป็นนักมวยปล้ำของอีกฝ่าย ต้องต่อสู้ทั้งกับนักมวยและกรรมการพร้อมกันไปด้วย มันเป็นความทุเรศที่แสนจะทุรัง แต่อย่างว่าแหละครับ มวยปล้ำมันเป็นแค่การแสดง ดังนั้นต่อให้กรรมการช่วยแค่ไหน บางทีตามบท ฝ่ายดีก็จะชนะฝ่ายคนชั่วเสมอไป ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจให้กับคนดูได้มากกว่า ตามหลักของธรรมะย่อมชนะอธรรมไงครับคุณจรัล

แต่ถ้าความหมายของคุณจรัล หมายถึง เหล่า ส.ส.และ สว.ที่กำลังเข้าชื่อกันเพื่อถอดถอนพวกท่าน ยิ่งห่างไกลจากการเปรียบเทียบของคุณจรัลอย่างสิ้นเชิง เพราะรัฐสภาไม่จำเป็นต้องมีกรรมการครับ เขาตัดสินกันด้วยเสียงส่วนใหญ่ครับ เป็นไปตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญนะครับ เรื่องนี้คงไม่ต้องตีความกันอีก

แต่ถ้าจะเปรียบเป็นมวย สภากับตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นนักมวยมากกว่า ส่วนประชาชนเป็นกรรมการครับ และคำตัดสินของคนดูก็ยึดจากคะแนนเสียงส่วนใหญ่ ก็คงเหมือนกับคำตัดสินทั่วๆไปตามวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งแม้แต่ในศาลรัฐธรรมนูญเองก็ใช้วิธีนี้ตัดสินไม่ใช่หรือครับ

นี่ขนาดเป็นแค่เกมกีฬานะครับคุณจรัล แต่สำหรับเรื่องของพวกท่านนั้นมันไม่ใช่ มันมีอะไรมากกว่าการแพ้ชนะบนเวที ดังนั้นแค่การเปรียบเทียบ ผมจึงว่าคุณจรัลตีความผิดไปแล้วล่ะครับ พอตีโจทย์ผิด ก็เลยได้คำตอบที่ผิดตามไปด้วย จึงทำให้คุณจรัลต้องมาตัดพ้ออยู่อย่างนี้ไงครับ

คุณจรัลครับ คุณจรัลที่ถูกตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นหนึ่งในสามเสาหลักตามระบอบประชาธิปไตย เพื่อถ่วงดุลอำนาจ และคานอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร แต่การกระทำต่างๆที่แล้วๆมา คุณจรัลลองไตร่ตรองดูสิว่า ทำหน้าที่ถ่วงดุลจริงหรือไม่ ทำหน้าที่คานอำนาจจริงหรือเปล่า มันคงไม่ยากจะแยกแยะนะครับ ระหว่าง "ถ่วงดุล" กับ "ถ่วงการทำงาน" มันต่างกันอย่างไร

มีหลายๆกรณีที่วินิจฉัยแล้วทำให้สังคมกังขา ส่วนตัวของผมก็ไม่ค่อยเข้าใจตัวบทกฎหมายสักเท่าไรนัก แต่เท่าที่ฟังดูจากหลายฝ่ายที่ให้ความคิดเห็น ก็ทำให้เกิดความสงสัย

อย่างกรณีการวินิจฉัยการถอดถอนนายกฯที่ทำกับข้าวออกทีวี พวกท่านก็ไม่ได้วินิจฉัยกันตามกฎหมายแรงงาน แต่ไปยึดโยงกับพจนานุกรรม เรื่องรับเงินค่าจ้างก็เป็นลูกจ้าง

แต่เมื่อสงสัยการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ได้รับค่าจ้างเช่นกัน

แต่กลับได้รับคำอธิบายว่าไม่ผิด เพราะเป็นการให้ความรู้

พอสงสัยว่าการทำกับข้าวก็เป็นการให้ความรู้เช่นกัน

กลับมีคำอธิบายเรื่องมหาวิทยาลัยเป็นการให้ความรู้ไม่หวังผลกำไร

แต่พอตรวจสอบงบดุลของแต่ละมหาลัย กลับพบว่าแต่ละมหาลัยกำไรจนพุงปลิ้นในแต่ละปี

นี่คือความไม่กระจ่างของประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่รู้กฎหมาย มีแต่สามัญสำนึกเท่านั้น ก็ยังเกิดความรู้สึกถึงความผิดปกติ เกิดความไม่มาตรฐาน แล้วจะให้สังคมไว้วางใจได้อย่างไรครับคุณจรัล

ยิ่งมาฟังบางท่านออกมาพูดเรื่องนี้ว่าทำไปด้วยการสุกเอาเผากิน ถึงแม้ตอนหลังจะมาพูดในทำนองที่รุกรี้รุกรนเป็นเรื่องของคำวินิจฉัยต่างหาก ก็ยิ่งทำให้ผมไม่เข้าใจมากยิ่งขึ้น การนำข้อกฎหมายขึ้นมาก่อนข้อเท็จจริง ทางบ้านผมเขาเรียกว่าการ "ตั้งธง"นะครับ แต่ไม่รู้ว่าทางกฎหมายของคุณจรัลเขาเรียกว่าอะไรกันครับ

ยิ่งมาฟังคุณวสันต์พูดถึงเรื่องคดียุบพรรค ที่บอกว่า ถ้าเป็นสถานการณ์บ้านเมืองที่ปกติ คงจะไม่มีการยุบพรรค ยิ่งทำให้ผมคลางแคลงมากยิ่งขึ้น เดี๋ยวนี้การวินิจฉัยคดี นอกจากหลักกฎหมายแล้วยังมีปัญหาบ้านเมืองมาเป็นปัจจัยในการร่วมพิจารณาด้วยหรือครับ แล้วอะไรล่ะครับที่ทำให้พวกท่านเชื่อว่า การตัดสินแบบนี้จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น พวกท่านใช้สิทธิอะไรกระทำแทนคนไทยทั้งประเทศ และเมื่อไม่เป็นไปตามที่พวกท่านคาดการณ์ สถานการณ์กลับเลวร้าย จนมีคนตายกันเป็นร้อย บาดเจ็บกันเกือบสองพัน อย่างนี้แล้ว พวกท่านคิดว่า ใครบ้างสมควรรับผิดชอบครับคุณจรัล

สำหรับเรื่องคลิปนั้น ถึงแม้พวกท่านจะฟ้องคนเผยแพร่ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้อธิบายให้สังคมเข้าใจเลยว่า สิ่งที่พวกท่านคุยกันนั้น มันหมายความว่าอะไร แต่ที่แน่ๆที่สังคมได้รับรู้ก็คือ การยกฟ้องการยุบพรรคของพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง เพราะคดีหมดอายุความ เพราะการแสดงความคิดเห็นนั้น เป็นการแสดงในนามของประธาน กกต.ไม่ใช่ในฐานะของนายทะเบียนพรรคการเมือง ทั้งๆที่เป็นคนเดียวกัน อย่างนี้ไม่ทำให้สังคมงุนงงก็แปลกแล้วล่ะครับคุณจรัล

แล้วยังมาเรื่องคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจซาอุฯอีก เมื่อพวกท่านวินิจฉัยกฎหมายสืบพยานต่างประเทศนั้น "ขัดรัฐธรรมนูญ" เพราะไม่คุ้มครองสิทธิ์จำเลย คราวนี้ไม่ยุ่งตายเลยหรือครับคุณจรัล ไหนจะผลต่อคดีเศรษฐกิจ ไหนจะผลกับคดียาเสพติด ไหนคดีอาชญากรรมข้ามชาติ แบบนี้ไม่วุ่นวันนี้ก็ต้องยุ่งในวันหน้าอย่างแน่นอน ผมเชื่อเช่นนั้นครับคุณจรัล

ต่อมาก็เรื่องการวินิจฉัยมาตรา 68 ที่พวกท่านใช้คำว่า "และ" กับ "หรือ" มีความหมายเดียวกัน ทำให้ประชาชนมีสิทธิที่จะยื่นเรื่องได้ทั้งอัยการสูงสุด และยื่นโดยตรงกับศาลรัฐธรรมนูญเอง นี่ก็เป็นประเด็นสร้างความสับสนงุนงงให้กับประชาชนอย่างพวกผมเป็นอย่างยิ่ง ถ้ายื่นโดยตรงได้ แล้วจะเขียนยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุดให้มันรกรัฐธรรมนูญทำไมกันครับคุณจรัล

แต่ที่ทำให้ผมถึงกับสติแตกกับเป็นเรื่องการวินิจฉัยเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ต้องผ่านการทำประชามติเสียก่อน ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่า วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตราไหน หรือ วินิจฉัยตามสถานการณ์บ้านเมืองอีก

และที่ทนไม่ได้ เพราะอำนาจประชาชนกำลังจะด้อยค่าไปเรื่อยๆ เมื่อรัฐบาลที่ผมเลือกมาให้แก้รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการที่พวกท่านเคยบอกไว้ว่า รับไปก่อนแล้วมาแก้ไขทีหลัง การแก้รัฐธรรมนูญมันง่ายนิดเดียว แต่พอถึงวันนี้กลับจะกลายเป็นการล้มการปกครองไปซะงั้น ทั้งๆที่ทำตามคำแนะนำของพวกท่านแล้วว่าให้แก้เป็นรายมาตรา จริงอยู่ ถึงแม้จะยังไม่วินิจฉัยก็ตาม แต่มันฝืนความรู้สึกถึงอำนาจที่กำลังถูกลิดรอนด้วยคนเพียงไม่กี่คนนะครับคุณจรัล



ดังนั้นจึงอยากบอกว่า ที่คนเสื้อแดงออกไปเรียกร้องนั้น ไม่ใช่ไปเพื่อกดดันศาล แต่เป็นการใช้สิทธิปกป้องรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ที่จะไม่ให้ใครมาทำลายหลักกฎหมายในรัฐธรรมนูญ เป็นความพยายามปกป้องไม่ให้บุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

แม้จะเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการก็ตามที คิดถึงตรงนี้ทีไร ผมพาลจะคิดถึงแผนบันได 4 ขั้นของคุณสนธิ หัวหน้ารัฐประหารที่ก่อเกิดรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทุกที ทำไมการดำเนินตามเหตุการณ์ที่ผ่านมา จึงไปเข้ากับบันไดทั้ง 4 ของคุณสนธิก็ไม่รู้ได้ มันแปลกแต่จริงใช่ไหมครับ

คุณจรัลครับ ถ้าจะเปรียบเป็นเกมกีฬา ผมอยากเปรียบให้เป็นเกมฟุตบอล จะได้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น กรรมการฟุตบอลนั้น แม้จะตัดสินให้ลูกล้ำหน้าของฝ่ายหนึ่งไม่เข้า แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับเป่านกหวีดให้เข้าน่าตาเฉย แม้คำตัดสินจะถือว่าสิ้นสุด จะเปลี่ยนคำตัดสินไม่ได้ แต่ภายหลังกรรมการที่ตัดสินผิดพลาด จะด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ย่อมถูกทางสมาพันธ์ลงโทษ และยังมีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการตัดสิน โดยอาศัยเทคโนโลยี่เข้าช่วย เพื่อให้เกมการแข่งขันเกิดความยุติธรรมให้มากที่สุด

แต่การตัดสินด้านกระบวนการยุติธรรมนี่สิครับ เมื่อตัดสินผิดพลาดก็ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น ดูจากกรณียกฟ้องการยุบพรรคเป็นตัวอย่างสิครับ เป็นความผิดพลาดอย่างชัดเจน แต่ก็หาคนรับผิดชอบไม่ได้ คนทำผิดก็ยังทำหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีการผิดพลาดเกิดขึ้นอีก แบบนี้ไงครับที่ประชาชนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงไงครับ อยากเห็นคนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบคนอื่นได้ ก็ต้องพร้อมจะให้คนอื่นตรวจสอบตัวเองได้เช่นกัน คุณจรัลยังคิดอีกหรือเปล่าครับว่า เป็นนักมวยไล่ชกกรรมการ

คุณจรัลครับ ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ผมยังละเสียที่จะพูดถึงที่มาของพวกท่านว่าชอบธรรมหรือไม่ ผมยังไม่พูดถึงความเกี่ยวพันระหว่าง สว.กับพวกท่าน ผมยังไม่พูดถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพวกท่านกับรัฐธรรมนูญปี 50 เพียงแต่อยากถามพวกท่านว่า สิ่งที่พวกท่านกำลังวินิจฉัยอยู่นั้น มันเกี่ยวกับการมีส่วนได้ส่วนเสียกับพวกท่านหรือเปล่าแค่นั้นแหละครับ

สุดท้ายอยากฝากคุณจรัลเรื่องหนึ่งครับ ความแตกแยกของสังคมไทยในตอนนี้ มีแต่ความยุติธรรมเท่านั้นครับที่จะขจัดความขัดแย้งเหล่านี้ได้ ดังนั้นถ้าต้องการให้ประเทศชาติสงบ คงต้องเริ่มจากพวกท่านแล้วล่ะครับ

อยู่ที่พวกท่านจะรักประเทศมากแค่ไหน

อยู่ที่พวกท่านเลือกจะอยู่เคียงข้างประชาชนหรือไม่

และจะทำอย่างไรเพื่อประเทศอันเป็นที่รักได้

ผมคงทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ นอกจากภาวนาคุณธรรมจะทำให้พวกท่านกอบกู้สถานการณ์บ้านเมืองให้สงบดังเดิมครับคุณจรัล

@ ฟัง/ดู การปราศรัยได้ที่เว็บนี้...
@ ถึงท่านเสื้อแดงทุกๆกลุ่ม...
หากมีเรื่องขัดข้องหมองใจ..เก็บขึ้นหิ้งไว้ก่อนนะครับ เสร็จศึกนี้ค่อยเช็คบิลกันก็ยังไม่สาย...........


ตลก.ศาลรธน. ชี้แจงกรณีลูก 'บุญส่ง' ไปเรียนต่อต่างประเทศ

นักวิชาการด้านกฎหมาย ชี้กรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งบุตรชายเป็นเลขานุการส่วนตัวแล้วอนุญาตให้ไปเรียนต่อต่างประเทศ โดยไม่แจ้งทางธุรการ ทำให้ยังได้รับเงินเดือนเกือบ 5 หมื่นบาททั้งที่เจ้าตัวไม่ได้เข้าทำงาน เป็นเรื่องไม่เหมาะสมและไม่สง่างามในฐานะผู้ที่ทำหน้าที่พิพากษาชี้ขาดผู้อื่น ขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยืนยัน ไม่ผิดกฎหมาย

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่า กรณีนายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อนุญาตให้เลขานุการส่วนตัวซึ่งเป็นบุตรชายไปเรียนต่อยังต่างประเทศ และยังได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งกว่า 47,000 บาท เต็มจำนวนเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน ไม่ใช่ความผิด ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ก็ได้มีมติยกคำร้องเรื่องนี้แล้ว และเท่าที่มีการพูดคุยหารือกันภายในระหว่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ทราบว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ ลงนามในหนังสือรับรองให้เลขานุการส่วนตัวนายบุญส่งไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ต้องรอการตรวจสอบเอกสารจากสำนักงานเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้ง

ขณะที่นักวิชาการด้านกฎหมาย มองว่า แม้กรณีนี้ ป.ป.ช.จะยกคำร้อง เพราะไม่ผิดกฎหมาย เนื่องจากนายบุญส่ง อ้างอำนาจตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยลูกจ้างสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 หมวด 4 ข้อ 16 แต่ในฐานะข้าราชการในกระบวนการยุติธรรมถือว่า เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของผู้ที่ทำหน้าที่พิพากษาตัดสินชี้ขาดผู้ต้องอื่น ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือและไม่สง่างาม

ขณะเดียวกัน ภาคประชาชนได้ ที่นำโดยนายโชคชัย ฤทธิ์บุญรอด เครือข่ายสภายุติธรรม ได้เข้ายื่นหนังสือต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผ่านนางอรรถพร เลาหสุรโยธิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารงานทั่วไป เพื่อเลือกร้องให้นายบุญส่ง ลาออกจากตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพราะเห็นว่า เป็นการกระทำที่ผิดวินัยข้าราชการฝ่ายตุลาการ

จาตุรนต์ ฉายแสง: เป็นเพราะว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเหล่านี้ไม่มีสำนึกในการรักษาความยุติธรรม..และยังทำลายความยุติธรรมด้วยมือของตนเองอีกด้วย...




วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

12... ผงซักฟอกยี่ห้อใหม่ตราตาชั่งเอียงสีฟ้า

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ มือหยาบกร้านคู่นั้น มีแต่เส้นเอ็นปูดโปน...ทำให้ผมนึกถึงมือของผู้หญิงคนหนึ่ง...
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????
@ "ลื้อมีร่มมั้ย??..." แค่คำนี้แหละ ที่ทำให้นิสัยผมเปลี่ยนทันที
@ เฮ้อ!! ณ นาทีนี้..บอกได้คำเดียว เสียดาย..เสียดายครับ...นโยบายดีๆที่คน กทม. ไม่เอ๊า..ไม่เอา...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...


จิ้มไปจิ้มมาที่อากู๋.. ถึงแม้ว่าเรื่องมันจะผ่านไปนานแสนนานแต่ก็น่าเก็บเอาไปคิดวิแคะแยกแยะดู ก็เลยก๊อปมาฝากให้อ่านๆกัน...


ผงซักฟอกยี่ห้อใหม่
Posted on June 1, 2007 By: sompot

เมื่อวันคดียุบพรรคผมนั่งดูทีวีมาราธอน แล้วพบว่าตอนนี้ประเทศไทยมีผงซักฟอกยี่ห้อใหม่มาแล้ว ทำกันในกรุงเทพฯนี่เอง ไม่เลวนะเหมาะกับคนที่ใส่เสื้อ "สีฟ้า"

เพราะยี่ห้อนี้มันชื่อ "ผงซักฟอกตราตาชั่งเอียงสีฟ้า" เพิ่งวางขายเมื่อวันตัดสินคดีนี่เอง

หึหึหึ

ผมนั่งหน้าจอประมาณ 10 ช.ม. นั่งฟังคำตัดสินของศาลหน้าจอทีวี แรกๆดูแล้วน่าจะ 1 ช.ม. แต่ไปๆมาๆ ล่อไป 4 ช.ม.กว่าเพราะศาลท่านเล่นอ่านทุกบรรทัดของคำตัดสินที่หนาประมาณ 90 กว่าหน้า

ผมนั่งหน้าจอ อัดวีดีโอไว้กันพลาด เปลี่ยนวีดีโอไว้ไป 2 ม้วน จดไปเรื่อยพอชักยาวก็อู้ ไม่จดแต่คอยฟัง keyword เท่าที่ฟังดูคร่าวๆ คำตัดสินแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรกคือเนื้อหาที่อัยการสูงสุดฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ คือขั้นตอนมีอยู่ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งฟ้องเรื่องนี้ผ่านอัยการสูงสุด และอัยการก็พิจารณาสำนวนของคณะกรรมการเลือกตั้งและส่งเรื่องนี้ฟ้องมาที่ศาลรัฐธรรมนูญ โดยอัยการสูงสุดเป็นผู้ร้องและพรรคทั้งหลายเป็นผู้ถูกร้อง (หึหึ มันเป็นภาษากฎหมาย)

ส่วนที่สองเกี่ยวกับคำโต้แย้งของผู้ถูกร้อง อันได้แก่พรรคการเมืองต่างๆ ว่าจะแก้ข้อกล่าวหายังไง

ส่วนที่สามเป็นข้อวินิจฉัยของศาลที่จะ shoot down ประเด็นต่างๆ หรือเห็นด้วยกับประเด็นต่าง

รอบแรกเป็นของพี่มาร์ค แกมาพร้อมกับลุงชวนกะน้าบัญญัติและแกนนำของพรรค"สีฟ้า" ส่วนพรรคเล็กที่เขารวบพิจารณานั้นไม่มา (ใครจะกล้ามา) ส่วนที่ยาวมากคือ คำวินิจฉัยที่ลงลึกไปในทุกรายละเอียดของคดี อธิบายข้อกฎหมาย หลักฐาน เหตุผลและตรรกะในการตัดสินใจซึ่งผมผู้ซึ่งมีความรู้ด้านกฎหมายจำกัดฟังดูแล้วก็เห็นว่าสมเหตุสมผล ฟังไปได้สัก 70% ผมก็รู้สึกสงสัยว่าจะรอดว่ะเพราะศาลตีประเด็นกล่าวหาของ "พรรคสีฟ้า" ตกหมดประมาณว่าฟังไม่ขึ้น แต่สิ่งที่ไม่รู้คือกรรมการบริหารพรรคหรือผู้เกี่ยวข้องจะโดนตัดสิทธิการเมืองอ๊ะเปล่า

สุดท้ายรอดหมด ไม่น่าเชื่อ ผมเองก็ดีใจแทนพี่มาร์คว่าเออดีแล้ว รอดไปนะเว้ย แต่ฟังดูแล้วรู้สึกขัดใจว่ะเพราะศาลเขา "ฟอก" พรรคสีฟ้าซะสะอาดนี่หว่า อะไรก็ไม่ผิด หลักฐานนี้ก็ฟังไม่ขึ้น โดยเชื่อคำให้การของพยาน

ฟังแล้วรู้สึกไม่ได้ว่า เอ...ตาชั่งที่ว่าเที่ยงตรงหนักหนามันชักเอียงๆหรือเปล่า เพราะเล่นฟอกให้ซะสะอาด

หนังสือเรียนวิชาสังคมตอนเป็นเด็กบอกผมว่าตามหลักการคานอำนาจในระบอบประชาธิปไตยนั้น มี 3 อำนาจคืออำนาจนิติบัญญัติ เพื่อใช้ในการออกกฎหมาย อำนาจคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ และอำนาจตุลาการที่ใช้ในการพิพากษาคดีต่างๆ

ในเมืองไทยเขาบอกกันว่าในหลวงท่านใช้อำนาจนี้ (ซึ่งได้ผ่านมาจากประชาชน) ผ่าน 3 องค์กร แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนไอ้ 2 องค์กรคงจะเละไปแล้ว ได้แก่สภาและครม.เพราะสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำกว่าจุลินทรีย์ที่เขาเรียกกันว่านักการเมืองมันไปป่วนซะเละ เหลือแต่องค์กรเดียวที่ยังสะอาดอยู่และเป็นที่พึ่งของสังคมนั่นคือศาล หากจะดูจากสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ที่บรรดาศาลทั้งหลายต้องออกโรงมายุ่งกับเรื่องการเมือง เพราะการเมืองมันไปไม่ได้เลยต้องมีคนกดปุ่มให้กระบวนการมันวิ่งต่อไปจนค่อยๆคลี่คลายไปตามวิถีของมัน

แม้บางทีผมจะมองว่าการกดปุ่มให้กลไกทำงานนั้นมันจะเป็นการทำให้สิ่งที่เรียกว่า "ประชาชน" ไม่ค่อยแข็งแรง แต่ก็ช่างเหอะ ผมอาจจะเป็นพวกชนชั้นกลางที่ไม่ค่อยคิดอะไรมาก คิดแค่ว่าทำไงให้มันหายอึดอัดและไปได้สักที

อืมม... แต่ไอ้เรื่องคำตัดสินที่อ่านกันไปนี้และฟอกพี่มาร์คซะสะอาดกลับทำให้ผมกังวลถึงอนาคตของสถาบันที่น่านับถือนี้ ผมมองว่าตัดสินอย่างนี้ไม่ค่อยเที่ยงธรรมเท่าไหร่ (แม้จะพอรู้งูๆปลาๆว่า ศาลเขาจะตัดสินจากหลักฐานและประเด็นที่ส่งมาให้เท่านั้น) เพราะรู้สึกว่าพรรคสีฟ้าไม่โดนอะไรเลย ผมเชื่อในสุภาษิตที่ว่าไม่มีควันย่อมไม่มีไฟ ดังนั้นที่ "ลุงเทพ" แกไปเกี่ยวกับการเล่นการเมืองที่สกปรกก็น่าจะจริงอยู่ ตามความเห็นของผม...

ต่อไปไม่รู้ศรัทธาต่อบรรดาสถาบันนี้มันจะกร่อนไปหรือเปล่า สำหรับผมศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญมากทางเมือง (โดยเฉพาะศรัทธาของสื่อและชนชั้นกลาง(ชนชั้นกลวง)ที่มันชอบเขย่ารัฐบาลเล่นเมื่อไม่พอใจ) ถ้าศรัทธาต่อองค์กรมันกร่อน มันก็มีแนวโน้มว่าองค์กรนั้นมันจะเละต่อไป

และถ้าศรัทธาต่อองค์กรที่มันยังเป็นที่พึ่งเดียวของสังคมมันกร่อนไปละ อนาคตจะเป็นยังไง

อืม...

บางทีผมว่าถ้ายังมีเหตุการณ์ตาชั่งเอียงยังงี้อีกบางทีอนาคตของสิ่งยุ่งๆแต่สำคัญต่อชีวิตของเราที่เรียกว่า "การเมืองไทย" มันคงดีหมองๆมัวๆชอบกล

ตอนนั่งฟังลุงๆเขาอ่านมาราธอนกันมีส่วนหนึ่งผมฟังแล้วสะใจมากดูเหมือนศาลจะให้คำนิยามคำว่า "ระบอบทักษิณ" เท่าที่เข้าใจในสำนวนของพี่มาร์คและพวกพ้องอ้างถึงที่มาว่าเขาไม่ได้คิดคำนี้ขึ้นเองแต่ อ.ธีรยุทธ อ.เกษียณ กับอาจารย์อีกท่านที่ผมจำชื่อไม่ได้ (ขอโทษคับ) หลักๆที่จำได้คือ ระบอบทักษิณคือการแทรกแซงสื่อและองค์กรอิสระต่างๆ

หึหึ โหโดนกันไปเต็มๆ


มาถึงคราวของพรรคใครรักไทย เหมือนเดิมศาลเขาก็ร่ายคำร้องโดยละเอียดแล้วก็มายิงทีละประเด็น ตัวอย่างเช่น ฝ่ายจาตุรนต์บอกว่าพระราชบัญญัติที่เอามาใช้พิจารณานี้ใช้ไม่ได้เพราะมันเกิดภายใต้รัฐธรรมนูญปี 40 ที่โดนฉีกไปแล้ว หึหึหึ ง่ายๆเลยคับ ศาลเขาบอกว่าตามประวัติศาสตร์แล้วหากว่าคณะรัฐประหารอยากให้กฎหมายฉบับไหนไม่มีผลก็ต้องออกคำสั่งมา แต่คราวนี้ไม่มีประกาศมา และที่อ้างบันทึกของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐประหารว่าพระราชบัญญัติทุกฉบับใต้รัฐธรรมนูญ 40 โดนยกเลิกก็ใช้ไม่ได้เพราะเป็นเพียงคำตอบ

ไม่ใช่คำสั่งของคณะรัฐประหาร

หึหึ

อีกประเด็นเขาบอกว่าขั้นตอนที่ กกต. (หรือ คณะกรรมการกอดกันตาย ในตอนนั้น) เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดนั้นไม่เหมาะสมเพราะไม่มีการเรียกผู้เกี่ยวข้องอันได้แก่ลุงแม้วมาสอบสวน ศาลเขาบอกว่ามันเป็นอำนาจเต็มของกรรมการการเลือกตั้งที่จะพิจารณา

หึหึ โดนอีก

อีกอันที่ฟังแล้วโง่ๆคือฝ่ายใครรักไทยบอกว่า มาตรา 66 ที่ใช้ลงโทษพรรคการเมืองนั้นเกินความจำเป็นและกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ 40 ศาลก็ยิงเลยประมาณว่าถ้าไม่มีมาตรการลงโทษแล้วกฎหมายจะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร

นั่นน่ะดิ่

อีกประเด็นที่ฟังแล้วโง่ยิ่งขึ้นคือบอกว่าการจ้างพรรคเล็กนั้นเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเพราะการเลือกตั้ง 2 เมษา และการที่ศาลรัฐธรรมนูญนั้นให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะไป ดังนั้นการกระทำผิดนั้นก็น่าจะเป็นโมฆะไปด้วย ศาลบอกว่าไม่ใช่ คนละส่วนกันนะน้อง

อืมม มันเอาสมองส่วนไหนคิดวะ

อีกประเด็นที่ฟังแล้วผมก็สงสัยในจำนวนรอยหยักในสมองของคนเขียนคำแก้นักคือเขาบอกว่าพรรคใครรักไทยอ้างว่าพรรคของเขาช่วยให้เศรษฐกิจดีและมีคนรักถึง 14 ล้านเสียง ถ้ายุบไปอาจเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนได้ ศาลบอกว่าจากสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามันไม่ใช่อ่ะ ประมาณว่าเอ็งไปอ้างอย่างนั้นไม่ได้ ไอ้เรื่อง 14 ล้านเป็นเรื่องที่เอ็งต้องไปชี้แจงเอง

เพล้ง! โดนไปอีกลูก

แล้วศาลก็ร่ายต่อไปบรรดาสิ่งที่ลุงแม้วและพวกพ้องกระทำต่อประเทศนี้ทั้งการขายหุ้น ศาลถึงกับเล่นว่าก่อนยุบสภา 10 กว่าวันลุงแม้วบอกจะไม่ยุบสภาแต่สุดท้ายก็ยุบ และยุบแล้วก็ให้เวลาพรรคอื่นเตรียมตัวแค่ 30 กว่าวันซึ่งไม่ยุติธรรม มีอีกศาลก็เล่นต่อว่าการที่ลุงธรรมรักษ์กับลุงเพ้งซึ่งเป็นสมาชิกอาวุโสของพรรคสนับสนุนให้มีการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้มีผู้สมัครพรรคเล็กให้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อเลี่ยงกฎ 20% ก็เป็นการกระทำเพื่อให้ลุงแม้วได้กลับมาสู่อำนาจ

โดยสรุปก็คือไอ้ที่เกิดขึ้นเนี่ยลุงทั้งสองคนนี้ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของเขาเอง แต่เพื่อประโยชน์ของพรรค และการที่ทำยังงี้เป็นการบอกว่าพรรคใครรักไทยมุ่งแต่ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยทำให้การเลือกตั้งซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากเหลือเพียงแบบพิธีเพื่อให้ได้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยไม่ไห้ความสำคัญหรือเห็นคุณค่าสิทธิเลือกตั้งของประชาชน และยังไม่เคารพกฎหมาย และยังเป็นการชี้ว่าพรรคใครรักไทยไม่ได้มีอุดมการณ์เพื่อพัฒนาการเมืองเลย

"...พฤติกรรมของผู้ถูกร้องที่ 1 (หมายถึงพรรคใครรักไทย)ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่อาจดำรงความเป็นพรรคการเมืองที่จะสร้างสรรค์และจรรโลงความชอบธรรมทางการเมืองแก่ระบอบการปกครองของประเทศโดยรวมได้อีกต่อไป กรณีจึงมีเหตุอันสมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1..."

ฟังเท่านี้แหละผมตะโกนบอกเจ้านายทันที "Thai Rak Thai dissolved" และเราก็ส่งข่าวได้ทันก่อน deadline สุดท้ายจะผ่านไป

เสร็จซะทีเว้ยยย

สิ้นเสียงเท่านั้นพรรคการเมืองที่ว่ากันว่าแข็งแกร่งที่สุดของประเทศนี้ก็อันตรธานไปจากสารระบบการเมืองไทย (อย่างน้อยก็ในแง่กฎหมาย)

ฟังๆไป เหมือนศาลเขาอัดอั้นตันใจมานาน เอาวะเล่นมันสักที จึงไม่แปลกที่บางคนเขาบอกผมว่า "ศาลอภิปรายไม่ไว้วางใจลุงแม้ว" หึหึหึ ผมไม่เถียงเลย ใช่จริงๆว่ะ อะไรที่ลุงทำไว้โดนลากมาเล่นหมด

ขณะที่ฟังหลายคนคงสงสัยว่าทำไมมันยาวนัก ตอนแรกผมเดาว่าเป็น tactic อ่านให้ยาวไว้ให้ตลาดหุ้นปิดก่อน และวันรุ่งขึ้นวันหยุดตลาดหุ้นปิดจะได้ไม่มีผลต่อเศรษฐกิจ ต่อมามีคนบอกว่าอ่านยาวๆให้ม็อบเหนื่อยไง จะได้ไม่มีแรง

แต่มี shot นึงที่ผมดูถ่ายทอดจังหวะที่ศาล grill ลุงแม้วว่าทำอะไรไปบ้าง และกล้องอีกอันไปจับภาพหน้าคนฟังแถวๆพรรคใครรักไทย ผมเลยคิดเล่นๆว่าศาลกำลังสอนคนฟังทั้งประเทศโดยเฉพาะคนที่ยังรักลุงแม้วอยู่ ประมาณว่าเป็นครูใหญ่ใจดีที่น่าเคารพสอนเด็กว่า เอ่อ ไอ้หนูเอ๋ย เอ็งฟังดีๆ ไอ้คนที่เอ็งเห็นว่าดีหนักหนาจริงๆแล้วมันทำเพื่อตัวมันเองทั้งนั้น มันทำผิดกฎนะ นี่มันทำผิดเรื่องนี้เพียบเลยเห็นเปล่า

แต่ผมก็ได้คำเฉลยมาเมื่อวานตอนไปม็อบพีทีวี

พี่ผู้รู้คนหนึ่งเฉลยตามความเห็นของแกว่า อ้าวก็วันนั้นที่ท่านออกมาพูดว่าศาลเป็นผู้รู้และมีหน้าที่ "ให้ความรู้ประชาชนไง"

อืมม ผมเข้าใจทันทีว่าทำไมผมถึงต้องนั่งหน้าจอ 10 ช.ม.

ยังไม่จบ พี่เขาเฉลยต่อ

"จบยังงี้อ่ะไม่แปลกหรอก" แกหมายถึงพรรคสีฟ้าที่ไม่โดนอะไรเลย

"ทำไมล่ะคับ" เด็กโง่คนหนึ่งถามต่อ

"เอ้า ก็คนหนึ่งของทีมทนายของพรรค... (สีฟ้า) อ่ะ เป็นอาจารย์ของผู้พิพากษา 2 คนในนั้น"

อืมม...

แล้วผมก็สิ้นสงสัยโดยพลันว่าทำไมพี่มาร์คถึงรอดมาได้

ทำตัวดีๆละกันนะคับเพ่...

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

11... อะไรคือ มรดกอสูร!!! ใครคือ ทายาทอสูร!!! ดร.โกร่งมีคำตอบ

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ มือหยาบกร้านคู่นั้น มีแต่เส้นเอ็นปูดโปน...ทำให้ผมนึกถึงมือของผู้หญิงคนหนึ่ง...
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????
@ "ลื้อมีร่มมั้ย??..." แค่คำนี้แหละ ที่ทำให้นิสัยผมเปลี่ยนทันที
@ เฮ้อ!! ณ นาทีนี้..บอกได้คำเดียว เสียดาย..เสียดายครับ...นโยบายดีๆที่คน กทม. ไม่เอ๊า..ไม่เอา...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...

นางนิชา ธุวธรรม ต้องตบกบาล นายพล อนุพงศ์!!!

@ By: วาทตะวัน สุพรรณเภษัช (อ่านบทความคลิกที่ภาพ)
"เพราะมึงนั่นแหละ...
'ไอ้โป๊งเหน่ง' ผัวกูถึงต้องตาย...ไอ้เรือหาย!!!"



ดร.โกร่ง ลอกคราบ...
อะไรคือ มรดกอสูร!!! ใครคือ ทายาทอสูร!!!

@ ทายาทอสูร มรดกอสูร โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร มติชน 18เม.ย.2556

สว.ลากตั้ง ทำตัวเป็นทายาท คมช.อย่างแจ้งชัดในหลายๆเรื่อง คมช.ได้สลายตัวไปแล้ว หัวหน้า คมช.ที่ทำการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ก็มาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว ทำหน้าทำตาเป็นนักประชาธิปไตย พร้อมๆกับออกมาสารภาพว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 มีบทบัญญัติหลายเรื่องไม่เป็นประชาธิปไตยและเสนอแก้รัฐธรรมนูญเสียเอง

ก่อนการรัฐประหาร 19 กันยา 49 เหล่าขบวนการล้มล้างหรือผู้ต่อต้านรัฐบาลทั้งหลายในยุคนั้น ปลุกปั่นปล่อยข่าวเท็จ เป็นระลอกหลายเรื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน เริ่มจากเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ ซึ่งศาลก็ตัดสินจำคุกแต่รอลงอาญาคนปล่อยข่าวไปแล้ว ปล่อยข่าวขบวนการล้มเจ้า ซึ่งไก่อู โฆษก คมช.ก็สารภาพไปแล้ว รวมทั้งข่าวฉ้อราษฎร์บังหลวงมากมาย จนบัดนี้ก็ยังไม่เป็นการพิสูจน์อย่างแจ้งชัด ข่าวเรื่องมีผลประโยชน์ในการเจาะน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทยกับเขมรป่านนี้ก็ยังไม่จริง รวมทั้งสารพัดข่าวเท็จที่ออกมาเพื่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน

มีพุทธวจนะบทหนึ่งว่า "นตฺถิ อการิยํ ปาปํ มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน" ความว่า "คนพูดเท็จ จะไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี" หรือแปลเป็นภาษาชาวบ้านว่า "คนโกหกไม่ทำชั่วไม่มี" มุสาวาทาที่ขบวนการทำให้ประชาชนแตกแยกก็กลายเป็นมรดก คมช.มาจนบัดนี้

มรดก คมช.ที่สำคัญที่ยังคงอยู่คือ รัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีบทบัญญัติ บอนไซ การพัฒนาประชาธิปไตย และปกป้องมรดก คมช. อยู่หลายเรื่อง

การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 เรื่อง อันได้แก่ ขอให้การยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องร้องผ่านอัยการสูงสุด การยุบพรรคการเมืองและลงโทษกรรมการบริหารที่ไม่ได้ทำผิดทำไม่ได้ ยกเลิก สว.ลากตั้ง เมื่อวุฒิสภาครบวาระแล้ว และการที่รัฐบาลจะไปเจรจาเรื่องต่างๆกับต่างประเทศต้องขออนุมัติรัฐสภาเสียก่อนทุกเรื่อง ซึ่งประเด็นต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาๆ ก็น่าจะแก้ไขทั้งนั้น ไม่เห็นมีอะไรจะเสียหายต่อระบอบประชาธิปไตย

ทายาท คมช. 40 สว.ก็ออกมาร้องโพนทะนาอาละวาดทันทีว่า เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เหมือนๆกับการขอตั้ง สสร.เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แทนฉบับมรดก คมช.ฉบับนี้ ที่ทายาท คมช.ทำเกือบสำเร็จ

มรดก คมช.ทิ้งไว้มีอีกมาก หลักการการจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆเพื่อช่วยรัฐสภาตรวจสอบรัฐบาลเป็นหลักการที่ดีใช้ได้ แต่การสรรหาบุคลากรเข้าไปดำรงตำแหน่งต่างๆ ต้องดูคุณสมบัติความคิดเห็นเป็นกลาง บริสุทธิ์ยุติธรรมที่จะทำให้ "ประชาชนไว้วางใจ" สถาบันอิสระเหล่านี้จึงจะเป็นสถาบันอันทรงเกียรติ ไม่เป็นทายาท คมช.

แต่ถ้าสรรหาเอาบุคคลที่มีความเป็นมา มีความคิดความเห็นเป็นทายาท คมช. เช่น "ตุลาการภิวัฒน์" ที่พูดจาแสดงความเห็นไม่เคารพต่อวิชาชีพ ไม่เคารพตนเอง เข้าไปเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ องค์กรอิสระนั้นก็เสียหาย "ไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน"

มรดก คมช.เหล่านี้ 40 สว.ทายาท คมช.ออกมาปกป้อง ใช้เหตุผลข้างๆคูๆ ไร้เหตุผลหลักการ หลักวิชาการ ผิดเพี้ยนจนไม่รู้จะกล่าวอธิบายความจริงอย่างไร

ประชาชนคนไทยควรจะเรียนรู้จากประสบการณ์เสียทีว่า การทำปฏิวัติรัฐประหารนั้นเป็นสิ่งเลวร้ายที่ทั่วโลกเขาประณาม การแทรกแซงการเมืองโดยกองทัพ โดยทหารควรจะหมดสิ้นไปจากเมืองไทยเสียที ประชาธิปไตยแม้จะไม่ใช่ระบอบการปกครองที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นระบอบการปกครองที่เลวน้อยที่สุด ยังเป็นความจริง ระบอบการปกครองโดยทหารหรือครอบงำโดยทหารเป็นระบอบที่เลวที่สุด

เมื่อมีการทำการรัฐประหาร โดยเฉพาะการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 กระทำในยุคที่โลกเขามีการพัฒนาการเมืองกันไปทั่วแล้ว ช่วงที่กำลังดูถูกดูหมิ่นพม่าและยกย่องประเทศไทยว่ามีการพัฒนาการเมืองไปได้เร็วที่สุดหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 พอ คมช.มาทำการรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ประเทศไทยก็ถอยไปอยู่แนวหลังของพม่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ที่จัดตั้งในกรมทหาร ออง ซาน ซูจี ยังรังเกียจไม่อยากพูดด้วย และไม่ขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่จัดตั้งโดย คมช.หรือกองทัพที่ทำรัฐประหาร

เมื่อเร็วๆนี้ ก็มีทายาท คมช.ออกมาเรียกร้องให้ยึด ปตท.คืน เพราะใต้แผ่นดินประเทศไทยมีน้ำมันสำรองอยู่มหาศาล ซึ่งเป็นการกล่าวเท็จอย่างตรงไปตรงมา บังเอิญกระแสที่เคยตามการกล่าวเท็จในช่วงก่อนรัฐประหารได้ซาลงจึงไม่มีใครเชื่อ ก็เลยแล้วกันไป

มรดกของขบวนการประชาธิปไตยนั้นทำลายได้ง่าย เพียงแค่ลากปืนออกมาทำปฏิวัติรัฐประหารก็ไม่มีใครกล้าหือ แม้จะมีคนที่เคยประกาศตนว่า "เชื่อมั่นในระบอบรัฐสภา" แต่เมื่อมีการทำรัฐประหารก็ไม่เคยเห็นหัว หลบหน้าหายตัวไปทุกที

องค์กรมรดกรัฐประหารทำลายได้ยากแม้จะกลับมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เพราะขบวนการรัฐประหาร จะสร้างรัฐธรรมนูญ และองคาพยพบรรจุทายาทของตนไว้ทุกครั้ง การจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขมรดกที่ทิ้งไว้จึงทำได้ยาก

คมช.จึงเปรียบเสมือนอสูร ที่ทิ้งมรดกคือรัฐธรรมนูญและตั้ง "ทายาทอสูร" ไว้ทำหน้าที่แทน ต่อต้านและบอนไซขบวนการประชาธิปไตย

อะไรคือ มรดกอสูร ใครคือ ทายาทอสูร เจ้าตัวรู้ดี






ว่าด้วยเรื่องการ "เข้าแถว" กับนายกฯ 2 ยุค
By: tudong

สมัยก่อนเมื่อไม่นานมานี้ในยุคนายกฯทำคลอดจากค่ายทหารขึ้นครองอำนาจ

มีเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้จดจำได้ไม่รู้ลืม นั่นคือการขาดแคลนน้ำมันปาล์มอย่างหนัก

ทั้งๆที่ว่ากันว่าบริษัทที่ครองตลาดน้ำปาล์มมากสุดในเมืองไทยเป็นของใครบางคนที่อยู่ในรัฐบาลนั่นเอง

แต่ไม่รู้ว่าบริหารจัดการกันอีท่าไหนจึงทำให้ประเทศชาติต้องขาดขาดแคลนน้ำมันอย่างหนัก จนประชาชนต้องแห่แหนกันไปเข้าแถวเพื่อซื้อน้ำมันปาล์ม น้ำมันพืชกัน เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ชวนให้เจ็บปวดใจอย่างยิ่ง

บางแห่งบางที่ถึงกับต้องเรื่องทะเลาะวิวาท แย่งชิงตบตีกันก็มี



แถมมีอีกนโยบายหนึ่งที่น่าชวนหัวปนเศร้าคือ "นโยบายไข่ชั่งกิโลฯ" นโยบายนี้ต้องใช้เงินภาษีประชาชนถึง 60 กว่าล้านไปจ้างชาวต่างชาติให้ช่วยคิดให้ ประชาชนทราบข่าวต่างสลดหดหู่กันถ้วนทั่ว

ยกเว้น "สลิ่มสาบ" เงียบกริบ คงจุกอกกับพรรคการเมืองที่พวกตนเองเชื่อถือจนพูดอะไรไม่ออก


พอมาถึงยุคสมัยนายกฯที่ได้รับเลือกจากประชาชนเสียงข้างมากบ้าง

ก็เกิดปรากฏการณ์ "เข้าแถว" ขึ้นมาอีก แต่คราวนี้ประชาชนคงจะมีกะตังค์กันมากขึ้นหรืออย่างไร ถึงได้มีการ "เข้าแถว" ซื้อทองกัน

ทอง นะครับ ทองคำ ขอย้ำว่า ทองคำ...

@ ดูราคาทองคำประจำวันนี้

ปล. ตราบใดที่ ประเทศไทย และประเทศจีน ยังต้องใช้ทองเป็นสินสอด ทองหมั้น มีกะตังค์ก็ซื้อไปเถอะ ไม่มีขาดทุน ในระยะยาว ซื้อไว้ให้ลูกแต่งงานก็ยังได้ สมัยผมเริ่มทำงานบาทละ 4-5,000 เอง ... ตอนจะแต่งงานแม่ม..บาทละ 18,000

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

10... คุณเชื่อใคร.. ระหว่าง กนก ส.ส.ปชป. กับ หัวหน้าวินมอเตอร์ไซค์

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ มือหยาบกร้านคู่นั้น มีแต่เส้นเอ็นปูดโปน...ทำให้ผมนึกถึงมือของผู้หญิงคนหนึ่ง...
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????
@ "ลื้อมีร่มมั้ย??..." แค่คำนี้แหละ ที่ทำให้นิสัยผมเปลี่ยนทันที
@ เฮ้อ!! ณ นาทีนี้..บอกได้คำเดียว เสียดาย..เสียดายครับ...นโยบายดีๆที่คน กทม. ไม่เอ๊า..ไม่เอา...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...

คลิกดูบน youtube แล้วคลิกลิ้งค์ตามไปภาพในอดีตได้ที่นี่...

คุณเชื่อใคร??? ระหว่าง กนก ส.ส.ปชป. กับ หัวหน้าวินมอเตอร์ไซค์
By: Sky เว็บราชดำเนิน

จาก: กนก วงษ์ตระหง่าน (Kanok Wongtrangan) ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์


ในเรื่องนี้ จขกท. ได้นำเรื่องไปถามหัวหน้าวินมอเตอร์ไซค์

หัวหน้าวินฯ อธิบายว่า...

พรรคประชาธิปัตย์จะรอให้มีความพร้อมและให้คุ้มค่ากับการลงทุน ถามว่า แล้วเมื่อไรจะลงมือสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง 10 ปี หรือ 20 ปี ถัดจากนี้

หัวหน้าวินฯ เล่าว่า ที่บ้านของหัวหน้าอยู่ที่ จ.เพชรบุรี ต้นตาลที่มีในปัจจุบัน คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ปลูกไว้ และคนรุ่นลูกรุ่นหลานจึงได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากต้นตาล หากคนรุ่นก่อนไม่ปลูกต้นตาล คนรุ่นต่อมาจะมีน้ำตาลกินหรือเปล่า

หัวหน้าวินฯ เล่าว่า เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน เคยมีข่าวว่าเอกชนขอสัมปทานก่อสร้างและพัฒนา "สนามบินอู่ตะเภา" แต่รัฐบาลในอดีตไม่ยอม เกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าทุจริตโกงกิน หากให้เอกชนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ปัจจุบันประเทศไทยมีสนามบินดีๆ ใช้งานอีก 1 สนามบิน

และเมื่อ 20 ปีก่อน เคยมีข่าวว่าประเทศเยอรมันจะขอทำโครงการ "ก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงเทพฯ" แต่มีบางคนขัดขวาง เพราะเห็นว่ายังไม่เหมาะสม และยังไม่ถึงเวลา หากประเทศไทยก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินในเวลานั้น ค่าก่อสร้างจะถูกกว่าปัจจุบันมาก และจะลดปริมาณรถส่วนตัวลงไปอีกมาก

และเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ใน"การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ" มีบางคนเห็นว่ายังไม่เหมาะสม ยังถมทรายและบดอัดดินไม่เพียงพอ ยังไม่สมควรก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะจะทำให้รันเวย์ทรุด แต่นายกฯทักษิณ ได้ผลักดันโครงการนี้จนแล้วเสร็จ หากในวันนี้ สนามบินสุวรรณภูมิยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ "สนามบินดอนเมือง" ไม่สามารถรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวได้แน่นอน และสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งสร้างมาได้ไม่ถึง 10 ปี ไม่สามารถรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวในปัจจุบันได้แล้ว จนรัฐบาลต้องย้ายสายการบินโลว์คอสแอร์ไลน์ มาไว้ที่สนามบินดอนเมืองแทน

หัวหน้าวินฯ สรุปให้ฟังว่า หากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่เริ่มลงมือก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงในวันนี้ ในอนาคตจะลำบาก เพราะประเทศไทยพัฒนาไปเร็วมากในปัจจุบัน การเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานจะยากขึ้น

เพราะคนไทยในปัจจุบันฉลาดมากขึ้นและประท้วงง่ายขึ้น และที่ดินมีราคาแพงขึ้นทุกวัน หากไม่ทำการก่อสร้างโครงการดังกล่าวในเวลานี้ อนาคตค่าเวนคืนที่ดินจะมีราคามหาศาลจนก่อสร้างโครงการดังกล่าวไม่ได้

และจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาส เหมือนหลายโครงการในอดีต

หัวหน้าวินฯ ยังระบุอีกว่า ที่ผ่านมาเกือบ 20 ปี เคยเห็นรัฐบาลมีโครงการพัฒนาโครงการใหญ่ๆ บ้างไหม เพราะประเทศไทย มีแต่คนที่กลัวว่าหากทำโครงการฯใดๆ ก็กลัวว่าจะมีการกล่าวหาว่าทุจริต

ดังนั้น รัฐบาลที่ผ่านมาในอดีต กินแต่บุญเก่า และทำโครงการง่ายๆ เช่น แจกเช็คช่วยชาติคนละ 2,000.- บาท หรือเข้าฝึกอบรมโครงการต้นกล้าอาชีพ อบรมอาทิตย์ละ 5 วัน แต่อบรมจริง 2-3 วัน แล้วก็รับเงินไป

หรือโครงการมิยาซาวา ที่จ้างคนดายหญ้าริมถนน เช่น ดายหญ้าริมถนนมิตรภาพ จากสระบุรีไปถึงโคราช เมื่อดายหญ้าไปถึงปลายทาง หญ้าต้นทางก็โตพอที่ต้องดายอีกครั้ง ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เพียงพอในการใช้เงิน

แต่พรรคเพื่อไทยไม่กลัวที่จะทำโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ไม่กลัวที่จะถูกกล่าวหาว่าจะมีการทุจริต และทำการผลักดันโครงการดังกล่าวอย่างเต็มที่

"เชื่อว่าอีก 7-8 ปี คนไทยจะได้ใช้หรือคนรุ่นลูกรุ่นหลานก็จะได้ใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงแน่นอน" หัวหน้าวินฯ สรุปอย่างเชื่อมั่น

ปล. จขกท.ไม่เชื่อถือคำพูดของคุณกนก ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ แต่กลับเชื่อถือคำพูดของหัวหน้าวินฯ ที่มีอาชีพขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และชอบดูโทรทัศน์ช่องเอเซียอัพเดท มากกว่า

และขอถามว่า "สมาชิกในโต๊ะราชดำเนิน เชื่อคำพูดของใคร ระหว่างสมาชิกของพรรคประชาธิปัตย์หรือหัวหน้าวินรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง"?????


@ เอกสารแนบท้ายประกอบการพิจารณา พรบ. กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท


By: pamanpaman : ผมว่ารัฐมนตรีชัชชาติ หลอกไอ้หน้าโง่กนก วงศ์ตะหง่านครับ เพื่อให้มันโง่ต่อไป ความจริงคือ จาก กทม. ถึงเชียงใหม่ จะจอดรับผู้โดยสารประมาณ 15 สถานี แต่ละสถานีจะมีศูนย์การค้าอยู่ด้วย เพื่อให้ผู้คนที่มารอรับ หรือรอส่ง ได้ใช้จ่ายสินค้าด้วย ทั่วประเทศก็หลายสิบสถานี

จริงอยู่ค่าโดยสารอาจจะชำระหนี้ได้ไม่หมด แต่รายได้อื่นที่มาในรูปภาษีจะมโหฬารแน่ คนไทยช่วงนั้นจะมีประมาณ 72 ล้านคน

มานั่งเพียงปีละ 30 ล้านคน คนละ 800 บาท ก็ 24,000,000 ล้านบาทแล้ว นักท่องเที่ยว 20 ล้านคน คนละ 1,200 บาล ก็ 24,000,000 ล้านบาทแล้ว และค่าใช้จ่ายระหว่างท่องเที่ยวจะเป็นเม็ดเงินมากมาย ไอ้กนกนี่มันโง่ทุกคนจริงๆ

By: SassyKate : ประโยคนี้...ไม่รู้ว่า คุณ ส.ส. คนนี้ เอามาจากไหน...

"ดังนั้นเราต้องไปดูว่าเมืองที่รถไฟผ่าน รัฐบาลมีแผนการอะไรบ้างที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโต คำตอบคือยังไม่มีครับ...

ถ้าจะปล่อยให้เอกชนลงทุนตามสภาพเอง วันนี้รัฐบาลมีอะไรที่สร้างความมั่นใจต่ออนาคตให้เอกชนบ้าง คำตอบคือยังไม่มีครับ"

เป็นคำพูดของ รมต. ชัชชาติเหรอค่ะ?

คือ ไม่ต้องถึง รมต. ชัชชาติ หรอกค่ะ คนที่พอมีความรู้หน่อย เข้าใจชีวิตหน่อย ก็เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า "ระบบโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม" ของประเทศ มันสำคัญยังไง

"ที่บ้านถนนตัดผ่านหรือยัง" คำถามแบบนี้ ตีความได้อีกนัยนึงว่า "ความเจริญเข้าถึงหรือยัง"

ก็เป็นคำตอบทุกอย่างสำหรับโครงการนี้แล้วค่ะ ว่าประโยชน์ของโครงการนี้คืออะไร...

แต่เพราะประเทศไทยไม่เคยมี "ระบบคมนาคมและระบบขนส่งมวลชนที่ดี" ประชาชนในประเทศนี้ ต่างคนต่างขวนขวาย ทำมาหากินเอง บุกเบิก ถาง ทางเดินเอง แล้วรัฐค่อยเข้ามาปูลาดยาง หรือโรยหินดินแดง ให้

รัฐบาลที่ผ่านๆมา ตั้งแต่จำความได้ ส่วนมากล้วนแล้ว "ห่วยแตก" ไม่เคยคิดใหม่ ทำใหม่ เป็นกันยังไงมา ก็อยู่กันยังงั้นต่อไป...

พอคนที่เขามีหัวคิดก้าวหน้า มีหัวการค้า เข้ามาบริหารประเทศ เพราะอยากเห็นประชาชนอยู่ดีกินดี มีระบบการเดินทางที่ส่งเสริมให้ทำมาหากินได้ รวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และประหยัด... โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนให้ และประชาชนจ่ายคืนในรูปของการเสียภาษี...

แค่นี้เอง แต่นักบริหารประเทศรุ่นเก่า คิดไม่ออก ทำไม่ได้ โดยเฉพาะ ส.ส. พรรค เก่าแก่ พรรคนี้ ประชาธิปัตย์...

By: zeroAVA : มีรถคันแรกกันหมดแล้ว..ใครจะไปขึ้น ราคาแพงกว่ารถทัวร์..อีก คนหัวโพงแบกกล่องแบกข้าว จะขึ้นไหวเหรอ เด๋วมาประท้วงลดค่าตั๋ว

By: ริมคันนา : "...สาระไม่ได้อยู่ที่ว่า ใครจะมีตังค์หรือไม่มีตังค์ขึ้นค่ะ ความจำเป็นมันอยู่ที่ว่า เวลาญาติที่สนิทที่สุดของคุณจะเป็นจะตายเท่ากัน ถึงไม่มีตังค์คุณก็ต้องหาตังค์ขึ้นให้ได้จริงมั้ยคะ แต่ถ้าเวลาไม่จำเป็น คุณจะมานั่งเล่นทำไมล่ะคะ เมื่อถึงวันนั้น รถไฟความเร็วสูงจะจำเป็นกับคุณมากค่ะ เชื่ออย่างนั้น..."

By: TiNy SaMuN : ผมคนนึงล่ะ ที่จะขึ้น

ไปเที่ยวเชียงใหม่ ขับรถไป กว่าจะถึง ค่าน้ำมัน ค่าเสื่อม รถเท่าไหร่

นี่ไม่รวมความเสี่ยง ที่จะเกิดอุบัติเหตุ และเวลาที่เสียไประหว่างเดินทางอีกเท่าไหร่

คนขับไปถึง ก็หมดสภาพ ไปวันนึงละ ไปเช้า กว่าจะถึงก็เย็น

ไปเย็นกว่าจะถึงก็เช้า แถม อดนอนอีก เที่ยวต่อก็ไม่สนุก เพราะเพลีย

นั่งรถไฟความเร็วสูงไป หากรถเที่ยว 6 โมงเช้า 9โมงครึ่งก็ถึง เที่ยวต่อได้เลย ร่างกายไม่ล้า ไม่ต้องเสี่ยงอันตราย

ไม่เสียเวลาเดินทาง

ทำไมจะไม่ดีครับ

ผมเคยนั่งเครื่องไป เชียงใหม่ เพื่อไปเที่ยว ก็สบายดี ไปเช่ารถที่เชียงใหม่ ขับเที่ยวที่นั่น สะดวกสบาย ไม่ล้า

แต่ก็เบื่อเวลาที่ต้องไป เช็คอิน รอเครื่องออก ซึ่งรวมๆ ก็กินเวลาเป็นชั่วโมง

หากรถไฟความเร็วสูงมีเวลาออก เวลาถึงที่แน่นอน ก็ไม่จำเป็นต้องไปนั่งรอรถออกนานๆ ไปถึงก่อนรถออกแค่ 5 นาที

ไปถึงเที่ยวต่อได้เลยไม่เสียเวลาเที่ยว ร่างกายก็พร้อม ไม่ดียังไง หรือครับ


By: มาเฟีย ลงพุง : เมื่อปี46ผมซื้อบ้านแค่6.9แสน ปี51ผมขายคืนไป1.35ล้าน/มาซื้อที่ใหม่9.8แสน ราคาตอนนี้1.65ล้าน...รถไฟเร็วสูงก็ถ้าไม่สร้างปีนี้ก็คงไม่ได้ราคานี้...

ต้องบอกก่อนเลยว่า..นี่คือการเปรียบเทียบนะครับ...

เริ่มแรกผมมาซื้อบ้านพฤกษา11ในนามหลาน(ใช้เครดิตหลาน) 6.9แสน ตอนนั้นถ้าใครไม่กล้าอยู่ก็ไม่ได้ราคานี้..ไฟฟ้าไม่มี(กำลังทำเรื่องขอ)แต่ทางโครงการใช้เครื่องปั่นไฟให้แทน เปิด7-22น. ส่วนน้ำก็เช่นกันใช้น้ำบาดาลจากเครื่องปั่นไฟ ถนนก็ลาดยางเก่าๆ ความเจริญยังไม่ถึง

เรียกว่า ไม่รู้ว่านอนๆอยู่งูเหลือม/เสือจะมาคาบไปกินเมื่อไร 55555

พอทักษิณสร้างหมู่บ้านเอื้ออาทร มีรถเมล์เข้ามา มีถนนดีขึ้น มีโทรศัพท์ของทรู ไฟ้ฟ้าเพิ่มเป็น3สาย น้ำประปามา รถเมล์สาย187ทั้งเมล์ร้อนและแอร์ มาวิ่งเข้า กทม.ถึงสี่พระยา/...จากราคา6.9แสนในปี2546แค่5ปีเพิ่มขึ้นมาเท่าตัวผมขายคืนให้หลานไป1.35ล้าน..(ขายในราคา85%ของราคาประเมินนะครับ)

มาซื้อใหม่ลึกกว่าเดิม ความเจริญยังมาไม่ถึงทาวน์เฮ้าส์37ตรว.เปิดโครงการ9.8แสนในปี2549 /ปี54น้ำท่วม ผมรีไฟแนนท์ใหม่หลังน้ำท่วม ธ.ให้ผม1ล้าน4แสน6หมื่น2พัน (แค่85%ของราคาประเมินเท่านั้นนะครับ ถ้าเป็นราคาเต็มก็ประมาณ1.6ล้าน) ตอนนี้มีรถเมล์ผ่านหน้าหมู่บ้านมีเคเบิ้ล มีเน็ต มีโทรศัพท์ น้ำไฟ รถตู้พร้อมสรรพ

ทั้งหมดนี้ผมกำลังจะบอกว่าเมื่อความเจริญเข้ามา..ราคาที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ต่างๆย่อมมีราคาขึ้นไปด้วย..รัฐได้อะไรครับ..ก็ได้ภาษีไง ใครขาย ใครซื้อ รัฐเก็บได้หมด เงินที่เขาขายได้ก็นำมาใช้จ่ายหมุนไปหมุนมานั่นเอง

เช่นกันครับ การสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง การสร้างรถไฟรางคู่ เพื่อเพิ่มความเร็ว..เมื่อคนเดินทางสะดวกขึ้น ก็มีการย้ายถิ่นฐานไปตั้งชุมชนใหม่มากขึ้น..การซื้อ-ขายที่ดินหรือความเจริญที่รถไฟผ่านก็มีมากขึ้น (ปัจจุบันดูเอาครับ ถ้าเป็นสถานีอำเภอ/เล็กๆหรือระดับ จว.บางจังหวัด แทบร้าง เพราะไม่มีการลงทุนเปลี่ยนแปลงอะไรเลยในรอบ50ปี รถไฟเดิมๆ มาช้าเหมือนเดิม คนใช้บริการนับวันจะน้อยลง..มีแต่ขายออกหรือทิ้งร้าง)

ถ้ามีรถไฟเร็วสูง มีรถไฟรางคู่ คนก็หันมาใช้มากกว่าเดิม และย้ายมาลงทุนตามสถานีมากขึ้น ชุมชนขยายออกไป..เมื่อความเจริญมาถึง..แบบนี้พวกสลิ่ม/แมงสาปคิดไม่เป็นครับ..คิดแต่ว่า

รถไฟเร็วสูง ไม่คุ้ม เมื่อเทียบกับจำนวนคนจะโดยสาร..แต่ไม่กล้าคิดว่า ความเจริญที่กระจายออกไปในชุมชนต่างๆที่รถไฟผ่าน..มากมาย..

ดูง่ายๆครับ สถานเชียงราก/หรือสถานีรังสิตบ้านผมนี่แหละ ถ้าไม่มีหมู่บ้านรัตนโกสินทร์200ปีมาสร้าง ผีหลอกเอาง่ายๆครับ ยิ่งเชียงรากด้วยแล้ว ..มืดๆใครอย่าได้เดินครับ..

เพราะคนใช้น้อย..แต่ถ้ามีรถไฟเร็วสูง/รางคู่ขึ้นมา ใครๆก็อยากใช้บริการเพราะ ปลอดภัย..สะดวก นั่นเอง ทุกที่ที่มีสถานีครับ

ถ้าเราคอยให้หัวเมืองต่างๆเจริญ จนคิดว่าเหมาะสมกับการลงทุน.. คิดง่ายๆครับ..แค่5ปี ราคาที่จะก่อสร้างขึ้นไปอีกอย่างน้อยๆก็30-40%

การเดินทาง สะดวกสบายรวดเร็วปลอดภัย ต้องนำไปก่อนครับ..แล้วความเจริญของชุมชนจะตามมา..

ที่ค้านๆเนี่ย เพราะ กลัวสูญพันธ์เมื่อเขาสร้างเสร็จนั่นเอง เชื่อผมเถอะ555555555

เพิ่มเติม

เราเคยดูหนังไอ้กัน ไหมครับ

เขาใช้รถไฟนี่แหละกระจายความเจริญไปยังรัฐต่างๆ..เชื่อมหัวเมืองออกไป ตั้งเป็นสถานีแล้วก็จะเกิดชุมชนขึ้นมา..

@ ทำความเข้าใจก่อนวิจารณ์ "การลงทุน 2 ล้านล้าน" กับ รัฐมนตรีชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์

@ แต่อดีตจวบปัจจุบัน... ลูกอีช่างค้าน ค้านแม่ง..ทุกเรื่อง

@ เขียนให้อ่าน..จากใจ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

@ ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร


สะเทือน ลึกซึ้ง ของ ไทยแลนด์ 2020 2.2 ล้านล้านบาท
หน้า 3,มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2556

การปรากฏขึ้นของร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ

ส่งผลสะเทือนเป็นอย่างสูง

สูงอย่างเหลือเชื่อ ไม่เพียงแต่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ออกมา "ค้าน" หากสิ่งที่เรียกว่า "ส.ส.ร.50" ก็ออกมา "ต้าน"

ต้านรุนแรงถึงกับยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.

ค้านต่อเนื่องไม่เพียงแต่ในขั้นวาระ 1 รับหลักการ หากแต่ยังโยงสายยาวไปยังขั้นกรรมาธิการ และการแปรญัตติในวาระ 2

แปรญัตติทุกมาตรา และทำท่าจะแปรกันทุกคน

ใครที่เคยเห็นบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ในการเตะถ่วง รั้งดึง ก่อกวน ระหว่างพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขมาตรา 291 เมื่อปี 2555

ก็จะได้เห็นอีก

อาจกล่าวได้ว่า บทบาทพรรคประชาธิปัตย์ บทบาทของสิ่งที่เรียกว่า "ส.ส.ร.50" เป็นผลสะเทือนในด้านลบ

ขณะที่ผลสะเทือนในด้านบวกก็ยังมี

หากประเมินจากรายละเอียดอันปรากฏจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ก็จะยอมรับในการเตรียมการ

เตรียมการในการลดบทบาทของ "หัวลำโพง"

เป้าหมายใหม่คือพื้นที่ย่านพหลโยธิน จำนวน 2,325 ไร่ จะได้รับการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของประเทศ

พื้นที่นี้เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมตั้งแต่บริเวณบางซื่อ เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์, หมอชิต, สวนจตุจักร และกิโลเมตรที่ 11 แผนก็คือ จะย้ายกระทรวงคมนาคมจากถนนราชดำเนินมา จะย้ายการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มา

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่สามารถทำได้เลย

ขณะเดียวกัน หากว่าร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ผ่านวาระ 2 วาระ 3 ประกาศและบังคับใช้ นั่นหมายถึงไฟเขียวผ่านตลอด

ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม โครงการรถไฟความเร็วสูงก็จะเริ่มขยับ

ทาง 1 เป็นการขยับให้ต่างประเทศเสนอระบบรถไฟความเร็วสูง โดยกระทรวงคมนาคมจะกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นไว้และเน้นด้านเทคนิค จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคัดเลือก

ฝันของประชาชนก็จะค่อยๆ ปรากฏเป็นจริง

ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางรถไฟในยุคฮาว เดอะ เวสต์ ว้อส วัน ของสหรัฐในยุคบุกเบิก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางรถไฟในสมัยราชวงศ์ชิงของจีน

ส่งผลสะเทือนเป็นอย่างสูง

อาจดูเป็นผลสะเทือนในด้านวัตถุ อาจดูเป็นผลสะเทือนในด้านเทคโนโลยี แต่ก็มีแรงสั่นไหวไปอย่างกว้างขวาง

กล่าวสำหรับแผนไทยแลนด์ 2020 ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เมื่อมองผ่านระบบรถไฟรางคู่อันถือว่าเป็นการปฏิวัติ เมื่อมองผ่านระบบรถไฟความเร็วสูงอันถือว่าเป็นการก้าวกระโดด

นี่ย่อมเป็นอีกยุค 1 เมื่อเทียบกับสมัยรัชกาลที่ 5

ไม่เพียงแต่โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะมีลักษณะต่อเนื่องและเชื่อมโยงในทางโลจิสติกส์ระหว่าง รถไฟ ถนน การขนส่งทางเรือ การขนส่งทางอากาศ หากแต่ด้วยความเร็วที่เร็วขึ้นมีผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองใหญ่แผ่ออกไปใน 4 ทิศทาง

ขยายตัวทั้งในด้านคน ขยายตัวทั้งในด้านความเจริญ

ยิ่งเมื่อนำเอาโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดนี้ประสานเข้ากับการเชื่อมต่อจากจีน และการเชื่อมต่อเข้ากับโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ขั้วการขนส่งของโลกก็จะแปรเปลี่ยน

ไปโลด โกอินเตอร์

แน่นอน การคัดค้าน ต่อต้านจากฝ่ายที่ไม่อยากเห็นการพัฒนาปรากฏขึ้นเด่นชัดเป็นลำดับ

เป็นความแจ่มชัดจากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นความแจ่มชัดจากสิ่งที่เรียกว่า "ส.ส.ร.50" อันเปรียบได้เหมือนผีลุกขึ้นมาจากหลุม

ไม่ต้องการความก้าวหน้า ไม่ต้องการเห็นการพัฒนา


By: คนการเมือง : สำหรับท่านที่วิตกกังวลว่าลูกหลานจะต้องใช้หนี้ถึง 50 ปี

ให้ท่านสั่งเสีย บอกลูกหลานของท่านเลยนะครับ

ถ้ารัฐบาลนี้ หรือรัฐบาลต่อๆไป เค้าส่งบิลไปเรียกเก็บหนี้สาธารณะจากเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทของ รบ.นี้

ให้เค้าเอาบิลมาเบิกกับลูกหลานผมได้เลยครับ ผมจะสั่งเสีย บอกให้เค้าแถมค่ารถให้อีกด้วย

By: kajokkub : กลัวเป็นหนี้ 50 ปี ปล่อยให้เป็นเวรกรรมของลูกหลานไทยเอาเองสร้างทางเกวียนให้ละกัน...50 ปีข้างหน้า ถ้าจะคิดทำ จะลงทุนเท่าไหร่???

ช่วงนี้ คนยุคเรา ก็ทะเลาะฆ่ากันไปก่อน ปล่อยเป็นเวรกรรมของลูกหลาน เขาอยากมีไหม การสร้างความเจริญให้จากยุคนี้

สร้างทางเกวียนไว้ให้ละกัน อีก 10 ปี 50 ปี อยากสร้างค่อยว่ากัน แต่ถ้าจะสร้าง อาจจะต้องใช้ เงิน 10.2 ล้านล้านบาทก็ได้

ยุคเรา เขียนไว้ให้ลูกหลานได้ อ่านต่อไปว่า ว่า อย่าให้มีพรรคการเมือง แบบ ปชป. อยู่ในแผ่นดินจะดีมาก


การสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยสังเขป

ในวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๖๘ (ต้นรัชกาลที่ ๓) มีการเปิดเดินรถไฟสายแรกของโลก ระหว่างเมืองสต๊อกตันกับดาลิงตัน ประเทศอังกฤษ (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๒๕)

วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ (นับอย่างปฏิทินปัจจุบัน พ.ศ. ๒๔๓๑) มีการลงพระนามและลงนามระหว่างพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีว่าการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนรัฐบาลไทยกับพลโท เซอร์แอนดรู คลาก ชาวอังกฤษ และคณะตัวแทนผู้รับจ้างสำรวจความเหมาะสมในการสร้างทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยจะต้องสำรวจและประมาณราคาให้เสร็จภายใน ๔๘ เดือน ผู้รับจ้างต้องประมาณราคาสร้างทางรถไฟทั้งขนาดความกว้างของรางรถไฟ ๑ เมตร ๑.๔๓๕ เมตร และ ๖๐ เซนติเมตร โดยไทยจะจ่ายค่าจ้างสำรวจไมล์ละไม่เกิน ๑๐๐ ปอนด์ (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๓๕-๑๔๐)

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้มีพระบรมราชโองการตั้งกรมรถไฟเป็นกรมขึ้นกับกระทรวงโยธาธิการ มีนายเบทเกวิศวกรชาวเยอรมันเป็นเจ้ากรมรถไฟคนแรก (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๔๑)

วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้มีการประกาศขายหุ้นลงทุนสร้างทางรถไฟแก่มหาชน ๑๖๐,๐๐๐ หุ้น หุ้นละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๒ แสนชั่ง หรือ ๑๖ ล้านบาท (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๔๐-๑๔๑) เพื่อเป็นเงินทุนมาสมทบกับเงินทุนที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติกันไว้แล้วส่วนหนึ่ง

วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ มีการเปิดซองประมูลการก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปรากฏว่ามีผู้ยื่นประมูล ๒ ราย

รายแรก นายเล็นซ์ (Lenz) ตัวแทนของบริษัทเยอรมันซึ่งมีธนาคารเยอรมัน ๓ ธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน ประมูลในราคา ๑๑,๙๗๖,๙๒๕.๕๐ บาท (ตัวเลขกลมๆ 12 ล้าน)

รายที่ ๒ นายยี. มูเร แกมป์เบลล์ (George Murray Campbell) ชาวอังกฤษจากสิงคโปร์ มีห้างซาดินเมเทธชั่นแห่งอังกฤษเป็นผู้ค้ำประกัน ประมูลในราคา ๙,๙๕๖,๑๖๔ บาท (ตัวเลขกลมๆ 10 ล้าน)

รายที่ ๒ ชนะการประมูลเพราะเสนอราคาต่ำกว่ารายแรกมากกว่า ๒ ล้าน ได้มีการทำสัญญากับตัวแทนของรัฐบาลไทยในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ (สงวน อั้นคง ๒๕๒๙ : ๑๔๔-๑๔๕)

สรุป: ค่าสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 264 กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 17,585,000 บาท (ตัวเลขกลมๆ 18 ล้านบาท)

การสร้างทางรถไฟสายใต้

การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ พ.ศ. 2452 รัตนโกสินทร์ศักราช 128

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งที่ 2 นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชาแผ่นดินชาวอเมริกาเสนอ ให้ไทยแลกดินแดนมลายูกับการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ของคนในประเทศอังกฤษในประเทศไทย ขอกู้เงินสร้างทางรถไฟสายใต้ และยกเลิกอนุสัญญาลับปี พ.ศ. 2440 การดำเนินงานนี้ประสบผลสำเร็จ มีการลงนาม ในสนธิสัญญา วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 มีใจความสำคัญดังต่อไปนี้

รัฐบาลไทยยอมยกดินแดนรัฐมลายู คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส รวมทั้งเกาะใกล้เคียงให้อังกฤษ ฝ่ายอังกฤษยอมให้คนในบังคับอังกฤษทั้งยุโรปและเอเชีย ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับกงสุลก่อนทำสัญญา ให้ไปขึ้นกับศาลต่างประเทศ ส่วนคนในบังคับอังกฤษ ที่จดทะเบียนหลัง ทำสนธิสัญญาฉบับนี้ให้ไปขึ้นศาลไทย แต่ขอให้มีที่ปรึกษาทางกฎหมายเป็นชาวยุโรปเข้าร่วมพิจารณาด้วย แต่ศาลกงสุลของอังกฤษก็ยังมีสิทธิจะถอนคด ของคนในบังคับอังกฤษไปพิจารณาได้

สนธิสัญญานี้มีผลกระทั่งไทยประกาศใช้ประมวลกฎหมายให้ครบถ้วนเป็นเวลา 5 ปี ในสัญญานี้ให้ยกเลิกอนุสัญญาลับ พ.ศ. 2440 ด้วย และการสร้างรถไฟสายใต้ รัฐบาลอังกฤษจะให้รัฐบาลไทยกู้เงิน 5 ล้านปอนด์ โดยคิดดอกเบี้ยต่ำ แต่ต้องให้ชาวอังกฤษเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้เอง เพราะอังกฤษต้องการให้บรรจบกับทางรถไฟในมลายูของอังกฤษ [ทางรถไฟสายใต้ ระยะทาง 1,144 กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 62,435,195 บาท (ตัวเลขกลมๆ 63 ล้านบาท)]

สรุป: ค่าสร้างทางรถไฟสายใต้ ......?????????????????

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

09... ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

@ ภาพหนึ่งภาพ แทนคำพูดล้านคำ..
@ เพิ่งเคยเห็นนายกฯคนแรกนี่แหละ ที่สนับสนุนให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์
@ แด่..มนุษย์เงินเดือน "อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"
@ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนเรียน Master of Business Administration (MBA)
@ ฮู้ยยยย...สติแตกกันไปหมดแย้วทั้งคนเล่นและกองเชียร์แนวร่วม
@ ความเป็นมาของ คดีสะเทือนโลก "ที่ดินรัชดา" ที่ทุกๆคนควรรู้!!!
@ ผมไม่ได้แหล!!! แต่เรื่องดีๆอย่างนี้..clickดูเองเหอะ
@ มือหยาบกร้านคู่นั้น มีแต่เส้นเอ็นปูดโปน...ทำให้ผมนึกถึงมือของผู้หญิงคนหนึ่ง...
@ สาระน่ารู้... เขาซื้อทองคำ ขายทองคำ กันอย่างไร?????
@ "ลื้อมีร่มมั้ย??..." แค่คำนี้แหละ ที่ทำให้นิสัยผมเปลี่ยนทันที
@ เฮ้อ!! ณ นาทีนี้..บอกได้คำเดียว เสียดาย..เสียดายครับ...นโยบายดีๆที่คน กทม. ไม่เอ๊า..ไม่เอา...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...


ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
@ คอลัมน์ คนเดินตรอก: 08 เม.ย.2556 เวลา 13:01:59 น.

พ.ร.บ.กู้ยืมเงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะไปลงทุนสร้างระบบรางรถไฟ ประโยชน์โภชน์ผลคงไม่ต้องพูดกันแล้ว เพราะฝ่ายรัฐบาลอภิปรายไปแล้ว

ก็เหลือประเด็นที่ฝ่ายค้านใช้เวลาอภิปรายว่า จะเป็นการเปิดช่องให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง กับสร้างหนี้ไว้ให้ลูกหลาน ควรใช้งบประมาณประจำปีดีกว่า

ประเด็นเรื่องคอร์รัปชั่น ไม่มีใครกล้ารับประกันได้ แต่ต้องช่วยกันป้องกัน ถ้าเล็ดลอดไปได้ ก็ต้องหาทางเอาตัวมาลงโทษให้ได้

แม้ว่าอาจรับประกันได้ ก็ยังต้องลงทุน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ การฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างหยาบคาย ก็เหมือนกับสังคมป่วยเป็นริดสีดวงทวาร เข้าห้องเล็กเมื่อไหร่ก็เจ็บปวด มีเลือดไหลทุกที เพราะเป็นจนเรื้อรังไปแล้ว รักษาก็ยาก แต่เมื่อเป็นริดสีดวงแล้วจะไม่ยอมเข้าห้องเล็ก ก็เห็นจะไม่ถูก เมื่อถึงเวลาก็ต้องเข้า แล้วควรระวังดูแลอย่าให้เจ็บปวดมาก รักษากันไป

เมื่อถึงเวลาก็ต้องลงทุนพัฒนาประเทศ ถ้ากลัวว่าจะมีรั่วไหล ก็ต้องหาทางป้องกันปราบปราม ได้ข่าวว่า ท่านประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานกลุ่มต่อต้านคอร์รัปชั่น จะมาร่วมดูแลไม่ให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็เบาใจ สบายใจขึ้น

ส่วนประเด็นที่สองที่กลัวกันว่า การกู้ยืมเงินมาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ควรจะตั้งเป็นรายจ่ายในงบประมาณประจำปี เพราะจะได้ปฏิบัติไปตามบทบัญญัติวิธีการงบประมาณ ไม่ควรจะเป็นงบรายจ่ายพิเศษ เพราะจะกลายเป็นภาระกับลูกหลานที่จะต้องมารับภาระ สมัยก่อนหนังสือพิมพ์ชอบคำนวณว่า คนไทยพอเกิดมาปุ๊บก็เป็นหนี้ทันที คนละเท่านั้นเท่านี้บาท

โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อย่างที่รัฐบาลเสนอขอกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจากประชาชนนั้น เป็นการกู้เงินจากประชาชนในประเทศเพื่อทำการลงทุนขนาดใหญ่ หรือภาษาการคลังเรียกว่าเป็น "Capital Expenditure"

รายจ่ายสำหรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ มีอายุใช้งานเป็นเวลายาวนาน เช่น โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มักจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนมาก เช่น ทางหลวงแผ่นดิน ทางรถไฟ สนามบิน ท่าเรือน้ำลึก ทางด่วนพิเศษ โครงการชลประทาน และอื่นๆ

โครงสร้างพื้นฐานต่างๆเหล่านี้ อาจจะแยกประเภทตามลักษณะในการลงทุนเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก โครงการที่รัฐบาลทำให้ราษฎรใช้โดยไม่คิดค่าใช้งาน เช่น ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ระบบชลประทาน กับอีกประเภทหนึ่ง รัฐลงทุน แต่มีการเก็บเงินจากผู้ใช้ จ่ายคืนการลงทุนภายหลัง เข้าลักษณะใครใช้ใครจ่าย ซึ่งกว่าจะคุ้มกับเงินลงทุน อาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง แล้วแต่นโยบาย

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานประเภทแรก ก็มักจะอยู่ในอำนาจของกรมใดกรมหนึ่ง เวลาจะลงทุน ก็ตั้งจากงบประมาณประจำปี และผูกพันปีต่อไปเรื่อยๆ ปีต่อปี รัฐบาลก็ตั้งให้ตามที่ผูกพัน แต่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งให้ตามที่ขอทุกปี น้อยบ้าง มากบ้าง แล้วแต่ฐานะทางด้านรายได้ เราจึงเห็นทางหลวงแผ่นดินหลายสายมีการก่อสร้างไว้ครึ่งๆกลางๆ หรือโครงการรถไฟรางคู่ทั่วประเทศเริ่มลงทุนมากกว่า 15 ปีแล้ว ก็ยังไม่เสร็จ เพราะงบประมาณได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วแต่นโยบายและความจำเป็นเร่งด่วน

สำหรับโครงการที่รัฐบาลต้องการทำเป็นโครงการที่จะเรียกเก็บค่าบริการมาใช้คืนเงินค่าลงทุนอย่างกรณีรถไฟความเร็วสูงก็ดีท่าอากาศยานก็ดี ท่าเรือน้ำลึกก็ดี ระบบไฟฟ้าก็ดี น้ำประปาก็ดี หรืออื่นๆ ที่จะทำในลักษณะรัฐพาณิชย์ จึงมักจะมอบให้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐวิสาหกิจ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แล้วแต่ความเหมาะสม เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านการผลิต การเงิน บุคคล

ในกรณีรถไฟความเร็วสูง ก็คงจัดในรูปรัฐวิสาหกิจรูปใดรูปหนึ่ง คงไม่ตั้งกรมรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาเป็นผู้ลงทุน ส่วนจะเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปใด ก็คงต้องคอยฟังกันต่อไป

เมื่ออยู่ในรูปรัฐวิสาหกิจรูปใดรูปหนึ่ง การตั้งงบประมาณประจำปีเพื่อใช้ในการลงทุน ก็ไม่น่าจะเหมาะสม ควรให้รัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการเป็นผู้รับผิดชอบเงินลงทุนเอง แทนที่จะคอยเงินภาษีอากรของประชาชนมาลงทุนเหมือนกรมทางหลวงแผ่นดิน กรมชลประทาน กรมทางหลวงชนบท หรือกรมอุตุนิยมวิทยา

โครงการขนาดใหญ่อย่างนี้ อายุการใช้งานเป็นร้อยๆปี ถ้าต้องการทำเร็วเช่นที่รัฐบาลประกาศไว้ 7 ปีสำหรับรถไฟความเร็วสูง และเร็วกว่านั้นสำหรับโครงการอื่นๆ หากต้องจ่ายเมื่อการลงทุนเริ่มขึ้น ก็ต้องจ่ายเป็นเงินจำนวนมากในแต่ละปี ปีละ 3-4 แสนล้านบาท ก็จะเต็มวงเงินลงทุนของรัฐบาล แต่ถ้าจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยของเงินลงทุน ถ้าดอกเบี้ยกู้ยืม 3-4 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลก็สามารถตั้งงบประมาณ จ่ายเพียงปีละ 6 ถึง 8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ไม่เต็มวงเงินงบประมาณประจำปี

เมื่อไม่เต็มวงเงินกู้ ก็จะสามารถตั้งงบประมาณลงทุนในด้านอื่นๆ เป็นโครงการสาธารณสุข โครงการการศึกษา โครงการพัฒนาอาชีพ รวมทั้งโครงการทางหลวงแผ่นดิน โครงการชลประทานได้อีก ไม่ใช่เอางบประมาณรายจ่ายทั้งหมดมาลงทุนในโครงการนี้อย่างเดียว อย่างที่ฝ่ายคัดค้านอยากเห็น

การกู้ภายในประเทศ หรือการกู้เงินบาท ก็เท่ากับการระดมเงินออมจากประชาชนไทยมาลงทุน ผู้ออมก็ได้ประโยชน์ คือได้ดอกเบี้ยสูงกว่า และมั่นคงสบายใจกว่าฝากธนาคารพาณิชย์ เพราะผู้กู้คือกระทรวงการคลัง เป็นการเอาเงินออมจากคนรุ่นนี้มาลงทุนสร้างทรัพย์สินไว้ให้ลูกหลาน แทนที่จะไปลงทุนซื้อพันธบัตรอเมริกัน อังกฤษ ยุโรป เพราะทรัพย์เหล่านั้นดอกเบี้ยก็ต่ำ ความเสี่ยงที่ค่าเงินดอลลาร์ เงินปอนด์ และเงินยูโรจะเสื่อมค่า เมื่อเทียบกับรางรถไฟ หรือโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งมีแต่จะมีราคามากขึ้นแพงขึ้น

ผู้รับภาระจ่ายดอกเบี้ยก็คือคนรุ่นนี้ เพราะช่วง 10-15 ปีแรก โครงการก็คงจะขาดทุนอยู่ จะไปทำกำไรได้คืนทุนก็คือรุ่นลูก ยิ่งรุ่นหลานก็คงกำไรมากขึ้น ไม่น่าจะมีภาระมากเท่ากับรุ่นเรา ข้อสำคัญ รายจ่ายที่รัฐบาลจ่าย ก็จ่ายให้ประชาชนคนไทยด้วยกันเอง เจ้าหนี้ก็คือคนไทยด้วยกัน

ดูอย่างครั้งเมื่อรัฐบาลพระพุทธเจ้าหลวงไปออกพันธบัตรเป็นเงินปอนด์ขายที่ยุโรปเพื่อมาเป็นค่าเวนคืนที่และลงทุนสร้างระบบรถไฟขึ้นเมื่อปี 2447 บัดนี้ก็ใช้หนี้หมดไปนานแล้ว พวกเรารุ่นหลานรุ่นเหลนไม่เคยทราบด้วยซ้ำว่าเราเคยมีหนี้ก้อนนี้ แต่เรามีรางรถไฟจากเหนือจดใต้ จากตะวันตกไปตะวันออก

โครงการเงินกู้ธนาคารโลกมาสร้างเขื่อนยันฮี หรือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนศรีนครินทร์ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ และเขื่อนอื่นที่เราให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตกู้เงินมาก่อสร้าง ก็สามารถคืนเงินกู้ได้จนหมดแล้ว รุ่นเรารู้แต่ว่าเรามีทรัพย์สินเป็นเขื่อน เป็นระบบชลประทาน เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ใช้ไปได้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเรา

ยิ่งเป็นเงินกู้ภายในประเทศ ลูกหนี้ก็เป็นรัฐบาล เจ้าหนี้ก็เป็นประชาชน ประชาชนเป็นทั้งเจ้าของทรัพย์สินและเป็นเจ้าหนี้ ถ้าเกิดประมาทพลาดพลั้ง เช่น ภาษีไม่เข้าเป้า จะยืมประชาชนใหม่มาใช้หนี้เก่าก็ยังได้ ไม่เหมือนกู้ต่างประเทศ ถ้าเครดิตไม่มี อาจจะถูกเรียกหนี้คืนได้ง่ายๆ หรือยืมใหม่มาใช้หนี้เก่าไม่ได้ ลูกหลานไทยจึงเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะเป็นทั้งผู้ถือพันธบัตรและผู้จ่ายภาษีใช้หนี้

พอถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน หนี้ 2 ล้านล้าน มูลค่าจะเหลือนิดเดียว แต่ทรัพย์สินจะมีมูลค่าสูงขึ้นมหาศาลเหมือนหนี้สร้างเขื่อนภูมิพล 2,000 ล้านบาท สมัยโน้น เทียบไม่ได้เลยกับมูลค่าที่ดินและตัวเขื่อนในราคาปัจจุบัน

การกู้เพื่อการ ลงทุนสร้างทรัพย์สินคราวนี้จึงไม่มีอันตรายเท่าใดเลย ขออย่างเดียว ลูกหลานเราอย่าบริหารให้ขาดทุนจนพังก็แล้วกัน

ผมเห็นของผมอย่างนี้ ลูกหลานจะด่าก็ตามใจ


@ ทำความเข้าใจก่อนวิจารณ์ "การลงทุน 2 ล้านล้าน" กับ รัฐมนตรีชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์

@ แต่อดีตจวบปัจจุบัน... ลูกอีช่างค้าน ค้านแม่ง..ทุกเรื่อง

@ เขียนให้อ่าน..จากใจ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

@ คุณเชื่อใคร.. ระหว่าง กนก ส.ส.ปชป. กับ หัวหน้าวินมอเตอร์ไซค์

Comment...

By คนการเมือง : การลงทุนเรื่องรถไฟความเร็วสูง ก็เปรียบเหมือนกับประชาชนที่ซื้อบ้านเงินผ่อน ผ่อน 20 ปี 30 ปีกว่าจะหมด หลังจากผ่อนหมดมูลค่าทรัพย์สินก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆตามกาลเวลา

เมื่อปี 2527 ผมซื้อบ้าน+ที่ดิน 21 ตรว. ที่ร่มเกล้า ลาดกระบัง ผ่อนชำระ 20 ปี 1,270x12x20=304,800 (ราคาขายเงินสดตอนนั้นแสนต้นๆ) ปีนี้ 2557 ถ้าผมจะขาย มีคนให้ราคาล้านกว่าครับ

ลองคิดดูครับ ปี 2527 บ้าน+ที่ดิน 21 ตรว. ที่ร่มเกล้า ลาดกระบัง ราคาเงินสด 115,800 ราคาเงินผ่อน 20 ปี 304,800 ผ่อนเดือนละ 1,270 (1,270x12x20=304,800)

ปีนี้ 2557 จะหาบ้าน+ที่ดิน 21 ตรว. ราคาเงินสดและเงินผ่อนแบบนี้ได้ไหม?????

พ.ร.บ. ที่เรียกกันติดปากว่า 2ล้านล้าน จะเอาไปทำอะไรมั่ง???
@ pdf โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2ล้านล้าน


@ facebook: Thaksin Shinawatra

อีกแง่มุมเพื่อความเข้าใจ โครงการ 2 ล้านล้าน

ผมขอเล่า เศรษฐกิจประเทศ เปรียบเทียบกับ ธุรกิจ ให้ฟัง...

ตอนสมัยผมทำธุรกิจ เวลาจะกู้หนี้ยืมสิน เขาจะดูสัดส่วนของหนี้ต่อทุนเพื่อรักษาไว้ไม่ให้เกิน 2 หรือมากสุด 2.5 เท่าต่อ 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะแข็งแรง

ส่วนเศรษฐกิจประเทศนั้นเขาจะรักษาสัดส่วนของหนี้ต่อ GDP ของประเทศไม่ให้เกิน 50% ถือว่าดีเยี่ยม ไม่เกิน 60% ถือว่ายังดีอยู่

แต่ประเทศที่มีฐานรายได้ทางภาษีใหญ่ๆ เขายอมให้สูงกว่านี้ เช่น ญี่ปุ่น มีหนี้เกือบ 200% ต่อ GDP แต่ตัวเลขของสัดส่วนย่อมเปลี่ยนไปถ้า GDP หรือเศรษฐกิจประเทศโตขึ้น

เหมือนบริษัท ถ้าบริษัทมีรายได้มากขึ้น มีกำไรสะสมมากขึ้น สัดส่วนของหนี้ต่อทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ก็จะลดลง เพราะมีกำไรสะสมมาเพิ่มเช่นกันครับ

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล คือการลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นทั้ง ทางตรง ทางอ้อม

ทางตรง คือ เงินที่ลงทุนและไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

ทางอ้อม คือ โครงสร้างพื้นฐานนั้นไปลดค่าใช้จ่ายทางการขนส่ง ลดการใช้พลังงาน ลดความสึกหรอของถนนที่มีอยู่เดิม ไปเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านความสะดวกในการสัญจร การเกิดกิจกรรมการค้าการขายมากขึ้น ที่ดินราคาดีขึ้นตามความเจริญที่เข้าถึง ความเชื่อมั่นที่ต่างประเทศนำเงินเข้ามาลงทุน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้าง

ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าหนี้จะพุ่งข้างเดียวเพราะรายได้ก็พุ่งด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จึงจะไม่สูงอย่างที่วิตก และก็ไม่ต้องรอว่าจะต้องใช้หนี้อีก 50 ปีจะหมด ดูตัวอย่างหนี้ IMF ที่เราใช้ได้เร็วกว่ากำหนด ทั้งนี้อยู่ที่ ใครสร้างเศรษฐกิจเป็น กับใครเป็นแต่ใช้จ่ายอย่างเดียว วิธีมองจึงต่างกันไปครับ